โครงการจัดสร้างพระพุทธมหาศิลาปฏิมากรฯ องค์ที่ ๒ โดย ชาคริต Copyright © 2010 all rights reserved by Trisuli shop สืบเนื่องจากในปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ ครอบครัวผมและคุณจารุกร มีเจตนาที่จะจัดสร้างพระประธานถวายวัดซึ่งบรรดาญาติๆพร้อมทั้งลูกศิษย์ลูกหาต่างก็มีจิตศรัทธาที่จะร่วมบุญจัดสร้างเพื่อถวายวัดที่ยังขาดพระประธาน จึงได้จัดสร้างพระพุทธมหาศิลาปฏิมากรฯ แกะสลักจากหินทรายละเอียดขนาดหน้าตักความกว้าง ๑.๕๐ เมตร ความสูง ๒.๕๐ เมตร ความหนา ๑.๐๐ เมตรโดยประมาณ เพื่อประดิษฐาน ณ. อาคารปฏิบัติธรรม “อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี” วัดป่าท่าพง จ. สระบุรี โดยถวายพระนามพระพุทธมหาศิลาปฏิมากรฯองค์ปฐมนี้ว่า “พระพุทธมหาศิลาปฏิมากร ธรรมบวรตรีโลกนาถ” และประกอบพิธีพราหมณ์บวงสรวงเบิกเนตร เมื่อวันเสาร์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยการนี้ได้รับมอบพระบรมสารีริกธาตุจากน้องชายที่น่ารักคุณนัฐชัย แย้มพิกุลสกุล เจ้าของเว็บไซต์พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระพุทธสาวกhttp://www.relicsofbuddha.com/ จำนวน ๑๐๘ องค์ และถือเป็นมงคลสูงสุดสำหรับผมและครอบครัว คือการได้รับพระเมตตาจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๙ องค์ เพื่อบรรจุบนยอดพระเกศาพระพุทธมหาศิลาปฏิมากรฯ ขอขอบคุณญาติธรรมและพุทธศาสนิกชนทุกท่านที่ได้ร่วมบุญกุศลด้วยกันในครั้งนั้น โครงการจัดสร้างพระพุทธมหาศิลาฯ องค์ที่ ๒ กำลังอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกวัดและสถานปฏิบัติธรรมที่เหมาะสม หากท่านใดต้องการร่วมสร้างบุญกุศลสมทบทุนในวาระครั้งที่ ๒ นี้ ท่านสามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.trisulishop.com Email: trisulishop@hotmail.com ความคืบหน้าของโครงการจัดสร้างพระพุทธมหาศิลาฯ องค์ที่ ๒ จะทยอยนำมาเสนอให้ทุกท่านได้ทราบเป็นระยะ Copyright © 2010 all rights reserved by Trisuli shop ประมวลภาพพิธีบวงสรวงเบิกเนตร พระพุทธมหาศิลาปฏิมากรฯ วัดป่าท่าพง จ. สระบุรี http://www.slide.com/r/KQL8ywcF4z9cID0UMSt7nrysXiPHnvKq |
วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553
โครงการจัดสร้างพระพุทธมหาศิลาปฏิมากรฯ องค์ที่ ๒
ความรู้เกี่ยวกับพิธีตั้งศาลพระภูมิ
ศาลพระภูมิ(ศาลพระชัยมงคล)
Thai spirit House
โดย ชาคริต
Copyright © 2009 All rights reserved by http://www.trisulidevalai.com/
ศาลต่างๆที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทยเรานั้น บรรดาศาลที่มีความใกล้ชิดกับผู้คนอย่างเราๆ ท่านๆ มากที่สุดก็คงจะเป็น ศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ศาลพรหม เป็นต้น แต่ในหัวข้อเริ่มต้นนี้ ผมจะขอพูดถึงศาลพระภูมิก่อน การตั้งศาลพระภูมินั้น ตามจารีตโบราณของชาวไทยเราปราชญ์หลายท่านได้สันนิษฐานกันไว้ว่าคงได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่แผ่ขยายเข้ามาในดินแดนแถบสุวรรณภูมิแห่งนี้นับแต่ครั้นโบราณแล้ว ซึ่งอิทธิพลที่ได้รับมานี้นั้นก็ได้ผนวกเข้ากับความเชื่อดั้งเดิมของชนชาวสยามที่อาศัยอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ โดยตามประวัติแล้วนั้น เชื่อกันว่า การกำเนิดเกิดขึ้นของพระชัยมงคลหรือพระภูมิผู้ดูแลสถานที่นั้น โดยมีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า กาลครั้งโบราณกาลนั้นมีพระราชาอยู่พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า "ท้าวทศราช" ปกครองกรุงพาลี ซึ่งถือกันว่าเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ทรงมีพระมเหสีพระนามว่าพระนางสันทรทุกเทวี มีพระราชโอรส 9 พระองค์ คือ
- พระชัยมงคล ทรงฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์หรือเทพารักษ์โดยทรงสวมชฎาทรงสูง สวมพระภูษาห้อยชายมีสายธุรำ และสายสังวาลย์ ทรงสวมกำไล,ปั้นเหน่งและพาหุรัด สวมฉลองพระบาทเชิงงอน พระหัตถ์ซ้ายทรงถือถุงเงิน พระหัตถ์ขวาทรงถือพระขรรค์ ปกครองดูแลเคหสถานบ้านเรือนและร้านโรงต่างๆ
- พระนครราช ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคลแต่พระหัตถ์ซ้ายถือช่อดอกไม้ ดูแลปกครองป้อม,ค่าย,ประตูเมือง,หอรบและบันไดต่างๆ
- พระเทเพล หรือ พระเทเพน ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือหนังสือหรือคัมภีร์ ปกครองดูแลฟาร์ม,ไร่และคอกสัตว์ต่างๆ
- พระชัยศพน์ หรือพระชัยสพ ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ขวาถือหอก พระหัตถ์ซ้ายวางแนบอยู่บริเวณพระสะเอว ปกครองดูแลเสบียง,คลังและยุ้งฉางต่างๆ
- พระคนธรรพน์ ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือผะอบ ปกครองดูแลพิธีวิวาห์, เรือนหอและสถานบันเทิงต่างๆ
- พระธรรมโหรา หรือ พระเยาวแผ้ว ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายแพนหางนกยูง ปกครองดูแลโรงนา,ป่าเขา,ลำเนาไพรและเรือกสวนต่างๆ
- พระเทวเถร หรือ พระวัยทัต หรือ พระเทวเถรวัยทัต ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคลแต่พระหัตถ์ขวาถือธารพระกร ( ไม้เท้า ) ปกครองดูแลปูชนียสถาน,เจดีย์และวัดวาอารามต่างๆ
- พระธรรมมิกราช หรือ พระธรรมมิคราช ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือพวงมาลา ปกครองดูแลกิจต่างๆ อันเกี่ยวกับพืชพันธุธัญญาหารทั้งปวงและพระราชอุทยาน
- พระทาษธารา ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ไม่ได้ถืออะไร ปกครองดูแลบึง, ห้วยหนอง,คลองและลำธารต่างๆตลอดจนน้ำที่ตกลงมาจากฟ้า
จากนั้นพราหมณ์จึงแสดงอิทธิฤทธิ์กลายร่างกลับเป็นมหาเทพดังเดิมเมื่อทรงย่างก้าวเพียง 3 ก้าว ก็กินอาณาบริเวณรอบกรุงพาลีทั้งหมดเสียแล้ว ท้าวทศราชเห็นดังนั้นก็ทรงก้มกราบ ร้องไห้ ท้าวทศราชทรงขอขมาจากพระวิษณุเจ้าทันที พระองค์ทรงขับไล่ท้าวทศราช,พระนางสันทรทุกเทวีและพระโอรสทั้ง 9 พระองค์ ให้ไปอยู่นอกเขตป่าหิมพานต์ นับจากนั้นราษฎรต่างก็อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
ครั้นท้าวทศราช,พระมเหสีและพระราชโอรสทั้ง 9 พรองค์ ต่างก็ต้องมาตกระกำลำบากเหตุเพราะความโลภและกิเลสของตนเองทำให้ต่างก็สำนึกต่อความผิดที่พวกตนเองได้ก่อไว้ต่อเหล่ามนุษย์ ท้าวทศราชจึงได้พาพระราชโอรสทั้ง 9 พระองค์ไปเข้าเฝ้าพระวิษณุ เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษและแสดงความสำนึกผิดอย่างแท้จริงและปวารณาตนเองว่าจะตั้งอยู่ในศีลธรรม พระวิษณุทรงเล็งเห็นจิตใจอันดีงามและแรงกล้า จึงทรงพระราชทานอภัยโทษให้และอนุญาตให้ท้าวทศราชและพระราชโอรสทั้ง 9 พระองค์ กลับมาอยู่ที่กรุงพาลีได้ดังเดิม แต่หาได้อยู่ในฐานะกษัตริย์ดังเดิมไม่ แต่ให้ประทับอยู่บนศาลที่มีเสาเพียง 1 เสาเท่านั้นและให้ปักลงบนผืนดิน และจะต้องปฏิบัติตามคำสัญญาอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะไม่ให้อยู่ในมนุษย์โลกอีกต่อไป
ดังนั้น ตามประวัติและเรื่องเล่าในศาสนาพราหมณ์ที่ได้รับถ่ายทอดสืบต่อกันมานั้นทำให้ประชาชนทั่วไปที่ต้องการให้มีเทวดามาคอยปกปักษ์รักษาบ้านเรือน ไร่นา ยุ้งฉาง ของตนต่างก็ได้ตั้งศาลขึ้นมาโดยใช้เสาเพียงเสาเดียวเพื่ออัญเชิญเทวดาซึ่งก็คือ ท้าวทศราชหรือพระราชโอรสทั้ง 9 พระองค์มาดูแลบ้านเรือนของตนเองตามลักษณะของสถานที่บ้านเรือนของตนเอง
การตั้งศาลพระชัยมงคล(ศาลพระภูมิ)
การที่เราจะอัญเชิญพระชัยมงคล ให้เสด็จมาคุ้มครองเจ้าของบ้านและบ้านเรือนต่างๆนั้น จำเป็นต้องดูฤกษ์ ยามอันมงคลและประกอบพิธีอัญเชิญให้ครบถ้วนถูกต้องจึงจะได้สมความปราถนาตามที่ได้ตั้งใจไว้ การตั้งศาลพระภูมินั้น ทางทีมงาน ตรีศูลี่ ไม่แนะนำให้ท่านเจ้าบ้านกระทำเองโดยลำพัง เหตุเพราะ การดูฤกษ์ ยามในการตั้งศาลก็ดี กฎเกณฑ์ต่างๆก็ดี หรือข้อต้องห้ามในการตั้งศาลก็ดี รายละเอียดปลีกย่อยเหล่านี้ถ้าแม้นว่ามีผิดเพี้ยนไปจากแบบแผนจารีตของพิธีกรรม ก็จะส่งผลให้เกิดเหตุ เกิดความสูญเสีย หรือราชภัยต่อผู้ตั้งและคนในบ้านหลังดังกล่าว ซึ่งมักจะมีให้เห็นเป็นเรื่องปกติอย่างที่เราๆท่านๆ ต่างก็ทราบกันดีอยู่ความสูญเสียหรือความเสียหายเหล่านี้นั้นเรียกว่า ต้องธรณีศาล
ศาลพระภูมิกับศาลเจ้าที่ นั้นแตกต่างกัน อย่าสับสนเอามาปะปนกันนะครับ ศาลเจ้าที่ คือ ศาลของวิญญาณเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมที่อยู่ในที่ตรงนั้นแลมีฤทธิ์ซึ่งสามารถดูแลคุ้มครองอาณาเขตภายในบ้านเรือนได้จึงต้องมีการบวงสรวงอัญเชิญเจ้าที่ขึ้นศาลเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อเจ้าของเดิมและให้เจ้าที่ได้มีสถานที่สิงสถิต
ไม้มลคลทั้ง ๙ นั้น ตามความเชื่อแต่โบราณนั้นถือว่าไม้เหล่านี้มีคุณวิเศษตามชื่อเรียก เป็นการเสริมสิริมงคลให้กับเจ้าของบ้านในการลงหลักปักฐานสร้างบ้านเรือน ไม้มงคลเหล่านี้จึงได้ถูกเอามาใช้ประกอบในพิธีการตั้งศาลพระภูมิ ของเราซึ่งทานร้าน ตรีศูลี่ได้ใช้ไม้เหล่านี้ลงยันต์มหามงคล ทั้ง ๙ แบบ และวางในทิศทางที่ถูกต้องตามฤกษ์ยามที่พราหมณ์ของเราได้เป็นผู้กำหนดวางฤกษ์ให้ โดยตอกหมุดไม้วางเรียงตามลำดับยันต์มหามคงคลทั้ง๙ ยันต์ ดังนั้นไม้มงคลที่เราใช้ในการประกอบพิธีตั้งศาลของเรานั้นจะต้องให้พราหมณ์เป็นผู้จารึกยันต์และลงอัคขระขอม ตามขั้นตอนในคัมภีร์พระเวทที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ นั้นคือ
1. ไม้สักทอง หมายถึง มีศักดิ์ศรี มีเงินมีทอง
2. ไม้ทองหลาง หมายถึง ความมีสง่าราศี บารมี
3. ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง มีความอยู่เย็นเป็นสุขทั่วราชอาณาจักร
4. ไม้ชัยพฤกษ์ หมายถึง มีชัยชนะ และร่มเย็นเป็นสุขทั่วราชอาณาจักร
5. ไม้ไผ่สีสุข หมายถึง มีความสุขสงบ
6. ไม้ขนุน หมายถึง การหนุนดวง หนุนโชคลาภ
7. ไม้พยุง หมายถึง ความสูงส่ง มีศักดิ์ศรีได้รับการเกื้อหนุนค้ำจุนตลอดเวลา
8. ไม้ทรงบาดาล หมายถึง ให้มีความสงบความสุข ร่มเย็น
9. ไม้กลันเกลา หมายถึง ให้คนในบ้านประกอบกิจที่ดี การทำแต่ความดี
พิธีกรรมเกี่ยวกับศาลพระภูมิ
พิธีถอนศาลพระภูมิ
มีเจ้าภาพหลายท่านสอบถามมาทางทีมงานเราอย่างมากมายเกี่ยวกับศาลเก่า ว่าจะทำเช่นไรดี บางคนก็ทุบทำลายออกไปแล้วเกิดเหตุไม่ดีตามมาบ้างก็มี บางครั้งไปเจองู หรือ สัตว์ร้าย อาศัยอยู่แถวนั้นบ้างก็มี บางครั้งฝันเห็นสิ่งต่างๆ ก็นำมาเล่าให้ทางเราทราบ ซึ่งโดยคติความเชื่อแต่โบราณมาแล้วนั้นหากมีศาลพระภูมิอยู่นั่นแสดงว่า สถานที่แห่งนั้นได้มีการผูกดวงชะตาของเจ้าการไว้กับศาลเดิมดังนั้นเมื่อที่ดินดังกล่าวมีเจ้าของใหม่ทางปฏิบัติของทางเราคือ จะต้องมีพิธีถอนศาลนั้น ออกเสีย เราไม่แนะนำให้ทุบทำลายโดยพละการ เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อผู้กระทำหรือผู้สั่งการก็เคยเกิดเหตุให้เห็นอยู่เนืองๆ เมื่อทำพิธีถอนออกไปแล้ว ถ้าต้องการจะตั้งใหม่ ก็ค่อยประกอบพิธีบวงสรวงตั้งศาลพระภูมิขึ้นมาใหม่ พิธีการถอนศาลจะต้องทำอย่างถูกต้อง และครบถ้วน
การตั้งศาลพระภูมิใหม่
ถ้าหากเจ้าภาพต้องการที่จะตั้งศาลใหม่ เจ้าภาพจะต้องติดต่อ พราหมณ์ผู้ประกอบพิธี หรือบางที่จะใช้ หมอขวัญ, โหรา เป็นต้น อันนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าภาพ ซึ่งท่านสามารถติดต่อกับทางเราเพื่อให้พราหมณ์ผู้ประกอบพิธีของทางเราเป็นผู้กำหนดฤกษ์ได้ครับ เมื่อกำหนดวันได้เป็นที่แน่นอนแล้วนั้น เจ้าภาพมีหน้าที่จัดเตรียมสถานที่ เช่น ก่อฐานศาลพระภูมิยกพื้นสูงรอวันปรักอบพิธีไว้ได้ เพราะพราหมณ์ของเรานั้นจะเป็นผู้กำหนดทิศทางของหน้าศาล, สถานที่ตั้งศาล, ชัยภูมิในการตั้งศาล, องค์ประกอบรอบๆตัวศาล, สี, และอุปกรณ์ตั้งศาลที่ควรมี เป็นต้น
สถานที่ที่ตั้งศาล โดยส่วนมากมักนิยมตั้งศาลพระภูมิไว้ริมรั้ว โดยถือคติว่าพระภูมิจะได้มองเห็นศัตรู หรือภัยอันตรายต่างๆ
ฤกษ์ยามต่างๆ
โดยทั่วไปโหรจะเป็นผู้กำหนดฤกษ์ บางทีทำกันในวันทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การยกศาลพระภูมิจะดูจาก ฤกษ์ ดิถี วันที่นิยมตั้งศาล และวันห้ามในเดือนต่างๆ ฤกษ์ใช้ในการตั้งศาลพระภูมิได้ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๔ ฤกษ์ คือ ราชาฤกษ์, เทวีฤกษ์, มหัทธโนฤกษ์ และ ภูมิปาโลฤกษ์ สิ่งสำคัญคืออย่าให้ฤกษ์ตกเป็น อริ มรณะ วินาสน์ และกาลกิณี ซึ่งเราให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพราะการทำสิ่งที่เป็นมงคลทุกอย่างต้องเป็นมงคล หว่านพืชอย่างใดย่อมได้ผลอย่างนั้น ดังนั้นการตั้งศาลพระภูมิของเรา จึงประสบแต่สิ่งดีเข้ามาโดยตลอด
ดิถี
ในพิธีตั้งศาลพระภูมินั้น ดิถีนครที่เหมาะสมควรจะเป็นวันขึ้น ๒, ๔, ๖, ๙ และ ๑๑ คํ่า ในวันแรม ก็เช่นเดียวกัน นอกจากนี้แล้วห้ามประกอบพิธี
วันที่นิยมตั้งศาล วันที่นิยมตั้งศาลพระภูมิตามสถานที่ต่างๆ มีคติโดยทั่วไป ดังนี้
วันพุธ วันพฤหัสบดี เคหสถาน, บ้านเรือน
วันพฤหัสบดี วันศุกร์ นา,สวน,วัด
วันอาทิตย์ วันอังคาร และวันพฤหัสบดี ค่าย,คู,ประตู,หอรบ
วันเสาร์ ทวาร, บันได
วันจันทร์ วันพุธ โรงพิธีบ่าวสาว
เดือนและวันที่ห้ามตั้งศาลพระภูมิ
๑. ลักษณะของศาล เมื่อประกอบพิธีตั้งศาลพระภูมิแล้ว ตัวศาลควรมีความสูงในระดับสายตาหรือเกินกว่านั้น ตัวศาลมีขนาด พอเหมาะ ทำจากวัสดุประเภทไม้หรือปูนก็ได้
๒. เทวรูปองค์พระภูมิ(เจว็ด) ต้องมีลักษณะ มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือสมุด หรือถุงเงินถุงทอง
๓. ห้ามไม่ให้หันหน้าเจว็ด (องค์พระภูมิ) ประจันหน้ากับประตูเข้าบ้าน เพื่อไม่ให้คน ในบ้านเดินเข้าออก ในทางทิศ ที่เหมือนกับเหยียบทิศที่พระภูมินอน หน้าศาล ควรหันไปตามทิศที่เจ้าพิธีเป็นผู้กำหนด
๔. การกำหนดทิศหน้าศาลโดยทั่วไป มีดังนี้
การปรับพื้น และการขุดหลุมมีเจ้าภาพหลายท่านสอบถามมาทางทีมงานเราอย่างมากมายเกี่ยวกับศาลเก่า ว่าจะทำเช่นไรดี บางคนก็ทุบทำลายออกไปแล้วเกิดเหตุไม่ดีตามมาบ้างก็มี บางครั้งไปเจองู หรือ สัตว์ร้าย อาศัยอยู่แถวนั้นบ้างก็มี บางครั้งฝันเห็นสิ่งต่างๆ ก็นำมาเล่าให้ทางเราทราบ ซึ่งโดยคติความเชื่อแต่โบราณมาแล้วนั้นหากมีศาลพระภูมิอยู่นั่นแสดงว่า สถานที่แห่งนั้นได้มีการผูกดวงชะตาของเจ้าการไว้กับศาลเดิมดังนั้นเมื่อที่ดินดังกล่าวมีเจ้าของใหม่ทางปฏิบัติของทางเราคือ จะต้องมีพิธีถอนศาลนั้น ออกเสีย เราไม่แนะนำให้ทุบทำลายโดยพละการ เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อผู้กระทำหรือผู้สั่งการก็เคยเกิดเหตุให้เห็นอยู่เนืองๆ เมื่อทำพิธีถอนออกไปแล้ว ถ้าต้องการจะตั้งใหม่ ก็ค่อยประกอบพิธีบวงสรวงตั้งศาลพระภูมิขึ้นมาใหม่ พิธีการถอนศาลจะต้องทำอย่างถูกต้อง และครบถ้วน
การตั้งศาลพระภูมิใหม่
ถ้าหากเจ้าภาพต้องการที่จะตั้งศาลใหม่ เจ้าภาพจะต้องติดต่อ พราหมณ์ผู้ประกอบพิธี หรือบางที่จะใช้ หมอขวัญ, โหรา เป็นต้น อันนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าภาพ ซึ่งท่านสามารถติดต่อกับทางเราเพื่อให้พราหมณ์ผู้ประกอบพิธีของทางเราเป็นผู้กำหนดฤกษ์ได้ครับ เมื่อกำหนดวันได้เป็นที่แน่นอนแล้วนั้น เจ้าภาพมีหน้าที่จัดเตรียมสถานที่ เช่น ก่อฐานศาลพระภูมิยกพื้นสูงรอวันปรักอบพิธีไว้ได้ เพราะพราหมณ์ของเรานั้นจะเป็นผู้กำหนดทิศทางของหน้าศาล, สถานที่ตั้งศาล, ชัยภูมิในการตั้งศาล, องค์ประกอบรอบๆตัวศาล, สี, และอุปกรณ์ตั้งศาลที่ควรมี เป็นต้น
สถานที่ที่ตั้งศาล โดยส่วนมากมักนิยมตั้งศาลพระภูมิไว้ริมรั้ว โดยถือคติว่าพระภูมิจะได้มองเห็นศัตรู หรือภัยอันตรายต่างๆ
ฤกษ์ยามต่างๆ
โดยทั่วไปโหรจะเป็นผู้กำหนดฤกษ์ บางทีทำกันในวันทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การยกศาลพระภูมิจะดูจาก ฤกษ์ ดิถี วันที่นิยมตั้งศาล และวันห้ามในเดือนต่างๆ ฤกษ์ใช้ในการตั้งศาลพระภูมิได้ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๔ ฤกษ์ คือ ราชาฤกษ์, เทวีฤกษ์, มหัทธโนฤกษ์ และ ภูมิปาโลฤกษ์ สิ่งสำคัญคืออย่าให้ฤกษ์ตกเป็น อริ มรณะ วินาสน์ และกาลกิณี ซึ่งเราให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพราะการทำสิ่งที่เป็นมงคลทุกอย่างต้องเป็นมงคล หว่านพืชอย่างใดย่อมได้ผลอย่างนั้น ดังนั้นการตั้งศาลพระภูมิของเรา จึงประสบแต่สิ่งดีเข้ามาโดยตลอด
ดิถี
ในพิธีตั้งศาลพระภูมินั้น ดิถีนครที่เหมาะสมควรจะเป็นวันขึ้น ๒, ๔, ๖, ๙ และ ๑๑ คํ่า ในวันแรม ก็เช่นเดียวกัน นอกจากนี้แล้วห้ามประกอบพิธี
วันที่นิยมตั้งศาล วันที่นิยมตั้งศาลพระภูมิตามสถานที่ต่างๆ มีคติโดยทั่วไป ดังนี้
วันพุธ วันพฤหัสบดี เคหสถาน, บ้านเรือน
วันพฤหัสบดี วันศุกร์ นา,สวน,วัด
วันอาทิตย์ วันอังคาร และวันพฤหัสบดี ค่าย,คู,ประตู,หอรบ
วันเสาร์ ทวาร, บันได
วันจันทร์ วันพุธ โรงพิธีบ่าวสาว
เดือนและวันที่ห้ามตั้งศาลพระภูมิ
เดือน ๑,๕,๙ วันพฤหัสบดี วันเสาร์ข้อควรปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับศาลพระภูมิ
เดือน ๒,๖,๑๐ วันพุธ วันศุกร์
เดือน ๓,๗,๑๑ วันอังคาร
เดือน ๔,๘,๑๒ วันจันทร์
๑. ลักษณะของศาล เมื่อประกอบพิธีตั้งศาลพระภูมิแล้ว ตัวศาลควรมีความสูงในระดับสายตาหรือเกินกว่านั้น ตัวศาลมีขนาด พอเหมาะ ทำจากวัสดุประเภทไม้หรือปูนก็ได้
๒. เทวรูปองค์พระภูมิ(เจว็ด) ต้องมีลักษณะ มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือสมุด หรือถุงเงินถุงทอง
๓. ห้ามไม่ให้หันหน้าเจว็ด (องค์พระภูมิ) ประจันหน้ากับประตูเข้าบ้าน เพื่อไม่ให้คน ในบ้านเดินเข้าออก ในทางทิศ ที่เหมือนกับเหยียบทิศที่พระภูมินอน หน้าศาล ควรหันไปตามทิศที่เจ้าพิธีเป็นผู้กำหนด
๔. การกำหนดทิศหน้าศาลโดยทั่วไป มีดังนี้
เครื่องสังเวยพิธีบวงสรวงตั้งศาลพระภูมิ เครื่องสังเวยแบบทั่วไปที่มักนิยมใช้กันมีดังนี้-บ้านเรือนผู้มียศศักดิ์เช่นรับราชการ ต้องหันหน้าศาลไปทางทิศอุดร (เหนือ)
-บ้านเรือนเศรษฐีเช่น พ่อค้า ต้องหันหน้าศาลไปทางทิศทักษิณ (ใต้)
-ที่นา, สวน, ไร่ ,ทุ่ง ต้องหันหน้าศาลไปทางทิศประจิม (ตะวันตก)
-ปูชนีย์สถาน บ่อน้ำ และศาลา ต้องหันหน้าศาลไปทางทิศบูรพา (ตะวันออก)
-บ้านเรือนคนสามัญทั่วไป ต้องหันหน้าศาลไปทางทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) และอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)(ในกรณีของตรีศูลี่นั้น จะให้พราหมณ์เป็นผู้ผูกกำหนดฤกษ์ และทิศทางให้เหมาะสมกับดวงชะตาของเจ้าภาพเป็นสำคัญ)
เครื่องสังเวยชุดธรรมดา ได้แก่หัวหมู บายศรีปากชาม มะพร้าวอ่อน กล้วย นํ้า ดอกไม้สีเหลือง ข้าวตอก งาคั่ว ถั่ว กระแจะ นํ้ามันหอม บายศรีปากชาม ไข่ลูกยอด ๑ ฟอง ล้อมรอบอีก ๓ ฟอง กล้วยนํ้า ๑ หวี มะพร้าวอ่อน ๑ ลูก ขนมต้มแดงต้มขาว ฟักทองแกงบวด ข้าวรำ ๘ ก้อน ไก่ ๑ ตัว หัวหมู ๑ หัว ปูทะเลต้ม ๑ ตัว ปลาแป๊ะซะ ๑ ตัว อ้อยควั่น ๑ จาน เนยและนม ๑ ถ้วย นํ้าชา ๑ ถ้วย หมากพลู บุหรี่ ๑ พาน ผ้าขาว ๒ ผืน (ใช้สำหรับผู้ทำพิธี ๑ ผืน ห่มสไบเฉียง ๑ ผืน)
(เครื่องสังเวยดังกล่าวแตกต่างในรายละเอียดและเครื่องมงคลพิธีที่ตรีศุลีใข้นั้น ไม่เหมือนกันกับที่โหรา หมอขวัญ ฯลฯ ท่านสามารถเข้าชมรูปภาพงานพิธีตั้งศาลพระภูมิของตรีศุลี่ได้ที่ http://www.slide.com/r/i8JHuK-g7z9lpfE0BjCdT9nQX63s3laN )
เมื่อพราหมณ์มาดูสถานที่ และอนุญาตให้ตั้งศาลพระภูมิตามจุดที่กำหนดได้แล้ว ก็ให้ปรับสถานที่ ปรับพื้นดินให้เรียบร้อย เทปูนยกพื้นศาลให้ได้ระดับที่กำหนดไว้ เป็นต้น
ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับพิธีตั้งศาลพระภูมิได้ที่ฝ่ายประสานงาน 083-197-9898
ผู้ประกอบพิธีพราหมณ์สำคัญอย่างไร
โดย ชาคริต Copyright © 2010 all rights reserved by http://www.trisulidevalai.com/ การเลือกผู้ประกอบพิธีพราหมณ์สำคัญอย่างไร มีหลายท่านได้ PM และ โทรศัพท์มาสอบถามผู้เขียนว่าจะเลือกผู้ประกอบพิธีอย่างไรดี คำถามที่ผู้เขียนได้รับเช่น พอดีผม/ดิฉันไปให้ร่างทรงดูฤกษ์ในการตั้งศาลให้แต่ไม่เห็นมีการดูวันเดือนปีเกิดของเจ้าภาพอย่างที่ผู้เขียนแนะนำไว้เลย หรือทำไมหลักการขั้นตอนพิธีกรรม รวมทั้งเครื่องสังเวยไม่เห็นเหมือนตามแบบที่ผมเขียนไว้เลย เช่นลูกค้าท่านหนึ่งเจอมาว่ามีการสั่งน้ำแฟนต้าทั้งน้ำส้ม น้ำแดง น้ำเขียว โค๊กเป็นเครื่องสังเวย หนูไม่แน่ใจว่าสมัยก่อนพระภูมิกินน้ำแฟนต้าเป็นด้วยเหรอค่ะ เป็นต้น หลายท่านจึงมีความสงสัยและมาสอบถามกับทางผม และมีอีกหลายๆคำถามจนทำให้ผมตัดสินใจเขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกผู้ประกอบพิธีในเบื้องต้น ขอให้ทุกท่านอ่านโดยใช้วิจารณญาณ ท่านผู้อ่านทุกท่านที่กำลังมองหาผู้ประกอบพิธีบวงสรวงต่างๆหรือผู้ประกอบพิธีพราหมณ์ เพื่อมาประกอบพิธีมงคลที่เกี่ยวข้องกับตัวท่าน ผมขอให้ทุกท่านคำนึงอยู่เสมอว่า ก่อนจะตัดสินใจเลือกผู้หนึ่งผู้ใดหรือผู้ให้บริการทีมงานใดมาประกอบพิธีให้ท่าน ทุกท่านควรจะต้องใส่ใจในรายละเอียดของพิธีกรรมนั้นๆเสียก่อน อันนี้หมายรวมถึงเครื่องพิธี ตัวผู้ประกอบพิธี และประวัติชื่อเสียงและที่สำคัญคือชื่อเสียของเขาเหล่านั้นเพื่อเป็นสิ่งบ่งบอกว่า ผู้ประกอบพิธีนั้นๆมีความรู้ความสามารถจริงตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ อันนี้เป็นการช่วยให้ท่านตัดสินใจง่ายขึ้น เพราะผู้ประกอบพิธีต้องเป็นผู้รู้ในศาสตร์นั้นๆโดยตรง เพราะการประกอบพิธีแต่ละครั้งไม่ใช่เรื่องเล็กๆหรือทำเล่นๆ หรือจะทำแบบสุกเอาเผากินได้ เพราะทุกครั้งมันคือค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงจนถึงสูงมากและพิธีกรรมเหล่านี้ตามความเชื่อของคนไทยโบราณมาแล้วนั้นมันมีผลกระทบต่อตัวท่านโดยตรง แต่ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบพิธีโดยส่วนมากที่เรามักจะพบเห็นทั่วไปคือหมอดู หมอธรรม มัคนายก หมอขวัญ คนมีองค์ ร่างทรง หรือท่านที่เรียนการดูดวง เรียนการพยากรณ์ มีความรู้ด้านโหราศาสตร์ เป็นต้น ลูกค้าหลายท่านอาจจะคิดว่าเมื่อเป็นหมอดูและดูดวงได้ ทายทักถูกต้องก็สามารถประกอบพิธีตั้งศาล พิธีบวงสรวงต่างๆที่เป็นพิธีพราหมณ์ได้ ผมขอบอกไว้ก่อนเลยว่าไม่เสมอไปครับ เพราะบางท่านอาจจะยังไม่ได้เรียนหรือรับช่วงคัมภีร์ตำราการประกอบพิธีมา ศาสตร์ในการประกอบพิธีพราหมณ์นั้นคนละส่วนกับศาสตร์การดูดวงครับ ที่สำคัญอีกจุดหนึ่งคือศาสตร์ในการประกอบพิธีพราหมณ์หลายๆพิธีไม่ได้มีการเผยแพร่ในวงกว้าง แต่กลับเป็นตำราเฉพาะที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น สืบสายกันมาเท่านั้นไม่ได้เป็นตำราที่หาซื้อหรือพิมพ์ขายเป็นหนังสือเล่มละไม่กี่ร้อย หรือประเภทโองการบวงสรวงบูชาเทพเจ้า โองการไหว้ครูที่พิมพ์ขายกันเกลื่อนหรือโพสกันตามเว็บไซต์ต่างๆ โองการ คำสวดบูชา คำฉันท์ ร่ายต่างๆเพื่อใช้ในการประกอบพิธีบวงสรวงหรือพิธีพราหมณ์ถือเป็นของสูงจึงไม่มีการนำมาเผยแพร่ในลักษณะอย่างที่กล่าวมาครับนี่คือคติของครอบครัวผมและท่านอื่นๆที่ผมรู้จักและเคารพนับถือ บางครั้งผมได้รับฟังจากทางลูกค้ามาว่า มีคนบางกลุ่มแอบอ้างว่าตนเองเป็นจอมขมังเวทย์ หมอยา หมอเสน่ห์ยาแฝด เป็นผู้มีญาณทิพย์ ทรงพระญาณมหาเทพองค์นั้นองค์นี้ หรือเป็นพวกคนมีองค์ เป็นผู้ตัดกรรมได้ อันนี้ถ้าดูตามหลักศาสนาพุทธไม่มีใครหลีกหนีกรรมได้ครับแม้แต่พระอรหันต์ ลองค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบุพกรรมของพระมหาโมคคัลลานเถระ ดูนะครับ แล้วจะทราบว่าคนเราตัดกรรมได้จริงหรือไม่ ดังนั้นผมจึงอยากบอกว่า บุคคลจำพวกนี้ที่ชอบแอบอ้างจนเกินเลยความเหมาะสมและความเป็นจริงให้พึงระวังไว้ให้มากครับ เพราะโดยส่วนมากที่พบเจอคือมักจะแอบอ้างเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาหากินแบบไร้เหตุผลปราศจากหลักการทางศาสนามารองรับ บางคนถามผมว่าแล้วใช้ฤกษ์สะดวกได้หรือไม่ ผมขอตอบว่า ผมไม่แนะนำครับแต่ก็ไม่ได้ให้เชื่อไปเสียทั้งหมดดูฤกษ์ทุกศาสตร์สุดท้ายก็ไม่เป็นอันต้องทำอะไรกันเพราะไม่มีวันดีซักวัน ตรงนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละท่านครับ สำหรับการผูกฤกษ์หรือวิชาโหราศาสตร์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพิธีพราหมณ์ พิธีการตั้งศาล ถอนศาลหรือพิธีบวงสรวงต่างๆก็มีที่มาจากศาสนาพราหมณ์ เพราะตามความเชื่อดั้งเดิมแล้ว ฤกษ์ที่ใช้จะส่งผลโดยตรงต่อเจ้าชะตาหรือเจ้าภาพโดยปรากฎตัวอย่างให้เห็นได้จากในสมัยโบราณแม้แต่พระมหากษัตริย์จะเสด็จหรือรบทัพจับศึกยังต้องมีการดูดวง วางฤกษ์ ผูกดวงพิชัยสงคราม เป็นต้น เช่นกันการประกอบพิธีพราหมณ์ในพิธีมงคลต่างๆก็ย่อมต้องใช้ศาสตร์เหล่านี้มาประกอบเป็นเบื้องต้น ดังนั้น หากท่านได้ผู้ที่ไม่มีความรู้ในการประกอบพิธีอย่างแท้จริงแล้ว ความเสียหายที่เกิดตามมานั้น ย่อมจะปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดและแก้ไขลำบาก แล้วจะเริ่มต้นอย่างไร ในการหาผู้ประกอบพิธีพราหมณ์ สิ่งแรกที่คุณผู้อ่านและลูกค้าทุกท่านควรมีคือ สติ และปัญญา สติปัญญาคือสิ่งที่ต้องมาคู่กันเสมอครับและอย่าให้เข้าตำรา เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย หรือเห็นแก่ของราคาถูกเอาง่ายเข้าไว้จนกลายเป็นความมักง่าย อันนี้ไม่ดีแน่นอนครับ เพราะโอกาสที่ท่านจะต้องกลับมาแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดมีสูง และแก้ไขยากหรืออาจจะแก้ไขอะไรไม่ได้เลย ผมในฐานะที่พอจะมีความรู้อยู่บ้าง ด้วยประสบการณ์ชีวิตและคลุกคลีกับการทำงานในศาสตร์นี้มาพอสมควร ขอบอกก่อนว่าผมไม่ได้เก่งหรือต้องการอวดฉลาด อวดภูมิความรู้แต่ผมอยากให้ผู้อ่านทุกท่านได้รับความรู้พื้นฐานเบื้องต้นและใช้สติปัญญาและวิจารณาญาณของแต่ละท่านไตร่ตรองแล้วจึงตัดสินใจ ผมอยากให้ทุกท่านศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองเบื้องต้นเสียก่อน เช่นในเว็บไซต์ต่างๆ มีคนเขียนเนื้อหาสาระ ขั้นตอนต่างๆ มีคำอธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับพิธีพราหมณ์หรือพิธีกรรมเหล่านี้ไว้บ้างแล้ว และยังมีหนังสือที่พิมพ์ออกมาขายในท้องตลาดเกี่ยวกับการตั้งศาลเบื้องต้นต่างๆ มากมาย ดังนั้นการที่เรามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพิธีการคร่าวๆ เราก็สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ประกอบพิธีท่านนั้นมีความรู้จริงในศาสตร์ของพิธีพราหมณ์ เช่นพิธีตั้งศาลต่างๆ พิธีวางศิลาฤกษ์ ถอนศาล พิธียกเสาเอกหรือไม่ น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด มีหลักการในการประกอบพิธีอย่างไร เพราะแต่ละท่านก็มีวิธีการที่แตกต่างกันไปหากแต่หลักการโดยรวมจะคล้ายคลึงกันซึ่งผู้อ่านทุกท่านคงจะทราบดี สิ่งต่อมาที่ควรสังเกตเช่น การพูดการจาของผู้ประกอบพิธี มธุรสวาจาเป็นสิ่งที่พราหมณ์ทุกคนต้องมีสิ่งที่พูดออกมาต้องเป็นความจริงและพร้อมจะสั่งสอนหลักธรรมทางศาสนาเพื่อสรรเสริญพระเป็นเจ้า พราหมณ์จะต้องครองตนให้อยู่ในกรอบจารีตและวัติปฏิบัติ เป็นต้น ทุกท่านควรใส่ใจในรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เช่น ภาพผลงานต่างๆ เพราะจะเป็นตัวบอกถึงคุณภาพของงานว่าสมราคาหรือไม่ ผมไม่ต้องการให้ผู้อ่านและลูกค้าของผมรวมทั้งลูกศิษย์ลูกหา ต้องมาประสบปัญหาหรือต้องสูญเงินไปโดยเปล่าประโยชน์แล้วไม่ได้อะไรเลยนอกจากความเสียหายที่กำลังจะตามมา เคล็ดอย่างหนึ่งที่ผมมักแนะนำให้กับทุกท่านที่สอบถามผมมาว่าจะมีเคล็ดในการดูหรือสังเกตผู้ประกอบพิธี ผมมักจะบอกว่า ให้ลองบอกท่านเหล่านั้นไปว่า บ้านเรือนของผมหรือของดิฉันมีมุมที่ตั้งได้มุมเดียวของบ้านแต่ติดว่าเงาบ้านต้องทับตัวศาลในช่วงเช้านิดเดียว เวลาฝนตกน้ำจะไหลจากหลังคาล้างศาลพระภูมิได้พอดีเลย น่าจะเป็นมุมที่ดีที่สุดแล้วในการตั้งศาลฯ และหากพบว่าผู้ประกอบพิธีท่านนั้นเห็นดีเห็นงามหรือพยามที่จะหาจุดตั้งศาลให้ได้ทั้งๆที่ ศาลอยู่ใต้ชายคาบ้าน เงาบ้านทับตัวศาล หรือกำหนดฤกษ์ในการประกอบพิธีทั้งๆที่ในวันดังกล่าวไม่สามารถประกอบพิธีได้ เป็นต้น เช่นนี้แล้วการกระทำดังกล่าวของผู้ประกอบพิธีท่านนั้นถือว่าผิดหลักการเบื้องต้นครับ เพราะมุ่งที่จะเอาเงินจากลูกค้าเป็นที่ตั้ง หากพบเห็นการกระทำที่มุ่งหวังแต่เพียงตัวเงินของผู้ประกอบพิธีให้พึงระวังไว้ว่าท่านกำลังถูกหลอก ทั่วประเทศไทยนั้นมีอยู่หลายท่านที่เป็นผู้ประกอบพิธีตั้งศาล ถอนศาล พิธีพราหมณ์ ที่มีความรู้ความสามารถจริงอยู่หลายท่านทั้งที่เปิดเผยตัวและไม่เปิดเผยตัวก็มีมากมายหลายท่าน ผู้อ่านทุกท่านสามารถสืบเสาะแสวงหาผู้ที่เหมาะสมที่จะประกอบพิธีพราหมณ์สำหรับท่านได้ ซึ่งท่านสามารถเปรียบเทียบคุณภาพ รายละเอียดของเครื่องประกอบพิธี อุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ รูปแบบพิธีการในงานของแต่ละท่านที่กล่าวมานี้ได้ เมื่อได้เทียบเคียงเปรียบเทียบแล้ว ท่านจะทราบด้วยตัวเองว่าท่านใดคือผู้เหมาะสมที่จะเป็นผู้ประกอบพิธี ผมในฐานะผู้เขียนและอยู่ในแวดวงนี้มานานไม่ได้มีเจตนามุ่งหวังที่จะเขียนเพื่อเอาความดีใส่ตัว เอาความชั่วใส่คนอื่น หากแต่อยากให้ผู้อ่านและลูกค้ารวมทั้งลูกศิษย์ลูกหาทุกท่านของผมได้ไตร่ตรองและใช้สติปัญญาพิจารณาตามสิ่งที่ผมได้กล่าวมาตามหลักการแล้วทั้งหมด ผมเชื่อว่าทุกท่านจะเห็นถึงความเป็นจริงในเนื้อความที่กล่าวในข้างต้นครับ สำหรับตรีศุลี่เป็นอย่างไร สำหรับตรีศุลี่ในด้านการประกอบพิธีพราหมณ์ ตามข้อปฏิบัติที่ยึดถือกันมานานแล้วจะต้องประกอบพิธีโดยยึดถือตามแบบแผนประเพณีและจารีตโบราณ ที่ได้รับสืบทอดรับมอบคัมภีร์ ตำรับตำราลงมาจากรุ่นสู่รุ่นในตระกูล ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เช่นโตกเชิญเครื่องสังเวย พาน และเครื่องพิธีของตรีศุลี่ไม่เคยใช้ปะปนกับงานประเภทอื่น เพราะเราถือว่าของเหล่านี้ใช้สำหรับตั้งเครื่องสังเวยถวายเหล่าทวยเทพ เทวดา จึงไม่สามารถใช้ปนกับภาชนะประเภทอื่นได้ เราไม่เคยหยิบยืมถาด จานข้าว จากวัด หรือใช้อุปกรณ์ปะปนกับงานประเภทอื่นเช่นพานที่ใช้ในงานศพ เป็นต้น อุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ในพิธีพราหมณ์จะแยกเป็นสัดส่วนออกจากอุปกรณ์ประเภทอื่น สำหรับครอบครัวผมถือว่าการใช้ของปะปนหรือยืมของวัดมาใช้ การกระทำอย่างนั้นถือว่าผิดครูและเป็นความมักง่ายที่ไม่ให้คุณกับผู้ใด และที่สำคัญตรีศุลี่ใส่ใจในทุกรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่น ยังมีหลายคนที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับขนมไทยบางประเภทขอยกตัวอย่างง่ายๆ คือ ขนมถ้วยฟูกับขนมปุยฝ้ายเป็นขนมไทยคนละชนิดกัน แต่ผู้ประกอบพิธีบางท่านที่ไม่รู้จริง หรือ รู้แต่ทำเป็นมองไม่เห็นกลับนำมาใช้เป็นเครื่องบวงสรวงสังเวยแทนกันก็มีให้เห็น ซึ่งจริงๆ ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นขนมคนละอย่างกัน แม้แต่ ผลไม้และขนมโบราณบางอย่าง ก็หายไปจากเครื่องสังเวยบนโต๊ะพิธีเช่น กล้วยน้ำไท อินทร์จันทร์ ขนมฮัลวา ขนมคันหลาว ขนมเล็บมือนาง เป็นต้น ซึ่งขนมเหล่านี้ได้หายออกไปจากท้องตลาดไม่มีการทำขายตามปกติเหมือนสมัยก่อนแล้ว แต่สำหรับตรีศุลี่ยังคงใช้ขนมเหล่านี้เพื่องานบวงสรวงสังเวยอยู่เช่นเดิม เรายังคงสั่งทำเป็นพิเศษจากร้านขนมไทยโบราณ หรือแม้แต่เรื่องบายศรีปากชาม สำหรับผู้ที่รู้พิธีจริงหรือเป็นช่างบายศรีจริงๆ ย่อมจะทราบว่า บายศรีที่มีขายกันอยู่ในตลาดโดยทั่วไปนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นบายศรีปากชาม เพราะขาดเครื่องเซ่น บูชาบายศรีหรือ ตัวบายศรีของบางร้านนั้นนิ้วยังไม่ครบ ผมบอกกับลูกค้าทุกท่านเสมอว่าหากคิดจะไหว้หรือถวายสิ่งมงคลเพื่อบูชาสักการะเทพ เทวดาแล้วไม่ใช่สักแต่ว่าซื้อไปแล้วเอาไปวางถวายได้เลย แบบนี้เรียกว่าสักแต่ว่าทำๆไป สุกเอาเผากิน สิ่งที่ผมพยามอธิบายตรงนี้เพียงเพื่อจะบอกกับลูกค้าทุกท่านว่า ท่านควรใส่ใจทุกรายละเอียดในการประกอบพิธี เพราะผมเชื่อเสมอตามคำของบรรพบุรุษของผมว่า "เมื่อเราทำทุกอย่างสมบูรณ์ อย่างปราณีตและถูกต้องครบถ้วน สิริมงคลย่อมเกิดกับตัวเราและพิธีการของเรา" ดังนั้นตรีศุลี่จึงไม่สามารถมองข้ามรายละเอียดปลีกย่อยเหล่านั้นได้เลย Copyright © 2010 all rights reserved by Trisuli |
พราหมณ์ กับสังคมไทย
พราหมณ์ กับสังคมไทย Copyright © 2010 all rights reserved by http://www.trisulidevalai.com/ โดย ชาคริต (ภาพ: พราหมณ์ประกอบพิธีคงคาอารตี แม่น้ำบัคมาติ หน้าวัดปสูปตินาถ ประเทศเนปาล) แล้วพราหมณ์ทำหน้าที่อะไรมีบทบาทอย่างไรในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและสังคม แน่นอนพราหมณ์ย่อมต้องมีหน้าที่สอนหลักธรรมและหลักการของศาสนา สอนปรัชญา จารีต ประเพณี ตามนิกายที่ตนเองนับถืออยู่โดยนำความรู้จากพระเวทและคัมภีร์ต่างๆมาสอนสั่งผู้ที่ต้องการเรียนรู้และเป็นผู้ประกอบพิธีที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมงคล การสรรเสริญพระเป็นเจ้าตามรูปแบบพิธีกรรมตามจารีตประเพณีโบราณที่สืบทอดกันมา ดังนั้นพราหมณ์จึงถือเป็นปราชญ์ของสังคม พราหมณ์เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการอัญเชิญพระเป็นเจ้าลงมาสถิตยังมงคลสถานเพื่อเป็นสักขีพยานในพิธีหรือรับเครื่องบูชาสังเวยพลีจากผู้บูชาโดยผ่านพราหมณ์ผู้ประกอบพิธี พราหมณ์เป็นผู้รับใช้พระเป็นเจ้าเป็นสื่อกลางในการประกอบพิธีกรรมซึ่งพิธีกรรมของพราหมณ์นั้นไม่เกี่ยวข้องกับคติหรือความเชื่อในลักษณะเป็นบาป เช่นการทำ คุณไสย หรือมนต์ดำ ไสยศาสตร์ พราหมณ์คือผู้ครองตนในทางที่ถูกที่ควรตามจริยะวัตรอันดีงาม และชี้นำสังคมให้เดินตามทางสันติสุข แนวทางการปฏิบัติหรือการประพฤติตนเองของพราหมณ์ย่อมต้องเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม ต่อผู้ศรัทธาในเหล่าเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตตามนัยยะคติของนิกาย ดังนั้นพราหมณ์ที่ดีย่อมเป็นผู้ที่น่าสรรเสริญในคุณความดีที่ได้สั่งสมมา ดังเช่นศาสนาพุทธที่สอนให้คนเรารู้จักที่จะเคารพบูชาและสรรเสริญผู้อื่นจากการกระทำดีหาใช่แต่เพราะว่าเขาเหล่านั้นคือใคร เป็นใคร วรรณะใด หากแต่อยู่ที่การกระทำความดีเป็นที่ตั้ง คำว่าการทำดี ครองตนดีของพราหมณ์ส่วนหนึ่งก็คือไม่เบียดเบียนผู้อื่น เห็นค่าของสิ่งมีชีวิตบนโลก เพราะนั่นคือสิ่งที่พระเป็นเจ้าได้รังสรรค์ไว้ให้ ยินดีกับพรที่พระเป็นเจ้าได้สร้างสรรค์สรรพสิ่งต่างๆไว้ให้เหล่ามนุษย์ ดังนั้นพราหมณ์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแม้ว่าจะมีวิถีทางที่ แนวความคิดแตกต่างหรือมีที่มาแตกต่างจากคติของศาสนาพุทธแต่เมื่อมองในมุมของการประพฤติปฏิบัติตนแล้วย่อมสามารถที่จะสรรเสริญในคุณงามความดีได้เฉกเช่นเดียวกับคนทั่วไปประกอบคุณความดี หากแต่ว่าพราหมณ์คนใดไม่ได้ครองตนอยู่ในทางที่ถูกที่ควร ประกอบกิจพิธีที่เป็นอัปมงคลต่อผู้อื่น พราหมณ์ผู้นั้นก็ไม่ควรที่จะได้รับการสรรเสริญยกย่องแต่ประการใด แม้แต่พระเป็นเจ้าย่อมไม่ยินดีในการกระทำเหล่านั้น และเมื่อมองย้อนกลับไปถึงพิธีกรรมที่มีการเอาเลือดมาเทที่พื้นในลักษณะนี้ สำหรับผู้เขียนแล้ว ผมเองทราบคำตอบในใจว่าพิธีดังกล่าวเป็นพิธีมงคลที่พราหมณ์ควรที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ และเป็นพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหรือไม่ หรือนั่นเป็นเพียงแค่เดรัจฉานวิชาอย่างหนึ่ง ไสยศาสตร์ในอีกรูปแบบหนึ่ง ओम शांति शांति शांति โอม ศานติ ท่านสามารถหาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.trisulidevalai.com/ Copyright © 2010 all rights reserved by Trisuli (ภาพ: พราหมณ์ฮินดูกำลังประกอบพิธีบูชาสรงน้ำเทวรูป) “พราหมณ์ผู้เป็นนักปราชญ์ ปราดเปรื่องและเชี่ยวชาญในพระเวททั้งหลายก็ไม่เหมาะที่จะเป็นคุรุของผู้หนึ่งผู้ใดหากพราหมณ์ผู้นั้นไม่สามารถเข้าถึงพระเป็นเจ้าได้ ในทางตรงกันข้ามหากผู้ใดสามารถเข้าถึงพระเป็นเจ้าได้แม้นว่าจะเป็นผู้ที่มีกำเนิดมาจากวรรณะจัณฑาล เขาผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นคุรุของคนทั่วไปได้” ปัทมะ ปุราณะ สำหรับพราหมณ์อีกกลุ่มที่จะกล่าวถึงก็คือพราหมณ์ราษฎร์ ซึ่งในที่นี้ก็คือพราหมณ์ที่ไม่ได้รับการบวชในเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ในช่วงพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย พราหมณ์ราษฎร์ในความคิดของผู้เขียนเอง คือผู้ที่มีสายเลือดของพราหมณ์หากแต่ไม่ได้เข้าถวายงานรับราชการกินเบี้ยหวัดอย่างพราหมณ์หลวง แต่ได้มีการบวชในรูปแบบของตนเองหรือในกลุ่มของพราหมณ์ในครอบครัวของตนเอง ด้วยสายเลือดและความรู้ในตำรับตำราที่รับสืบทอดมาในตระกูลของตนเองจึงทำให้พราหมณ์ราษฎร์ที่ได้ศึกษาและเชี่ยวชาญในพระเวทและพิธีกรรมก็สามารถที่จะประกอบพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับงานพิธีต่างๆได้เช่นเดียวกัน ตระกูลของพราหมณ์ที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้นมีจำนวนมากมายอยู่ที่ว่าครอบครัวหรือตระกูลนั้นๆจะได้เคยเข้าถวายงานกับราชการหรือไม่ เพราะโดยการบันทึกในสมัยก่อนนั้นจะปรากฏชื่อหรือเหตุการณ์เฉพาะที่สำคัญเท่านั้น สำหรับการบันทึกในแบบของชาวบ้านธรรมดาทั่วไปนั้นไม่ปรากฏให้เห็นมากนัก จนเป็นเหตุให้ข้อมูลและความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ลบเลือนหายออกไปจากสังคมไทย และโดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับตระกูลของพราหมณ์ ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในปัจจุบันนั้น ผู้ที่จะเป็นพราหมณ์หรือได้รับการบวชพราหมณ์นั้น นอกไปจากผู้ที่เกิดในตระกูลตามวรรณะของตนเองแล้ว ผู้ที่เกิดนอกวรรณะพราหมณ์ก็สามารถบวชพราหมณ์ได้เช่นกันแต่ยกเว้นอยู่เพียงคนกลุ่มเดียวซึ่งเป็นวรรณะต้องห้ามซึ่งขอที่จะไม่กล่าวถึงในตอนนี้ พราหมณ์ที่มาจากวรรณะอื่นหรือในกรณีของพราหมณ์ที่มาจากประเทศอื่นๆเช่น ประเทศทางแถบยุโรป เป็นต้นนั้นก็สามารถที่จะได้รับการบวชพราหมณ์จากเหล่าคุรุได้เช่นเดียวกันกับพราหมณ์ที่เกิดและสืบเชื้อสายมาจากชาวชมพูทวีปโดยเมื่อผ่านพิธีอุปนายะฯแล้ว คนผู้นั้นก็ย่อมจะได้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ในนิกายที่ตนได้เข้าไปบวช โดยในประเทศอินเดียนั้นมีมหาวิทยาลัยของพราหมณ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งอยู่ที่เมืองพารานาสี โดยมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้สร้างนักคิดนักเขียน และพราหมณ์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นนักปราชญ์ออกมารับใช้สังคมและพระเป็นเจ้าอย่างมากมาย การศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนประมาณ 5 ปีเป็นอย่างน้อย และหลังจากนั้นจะเป็นจาริกแสวงบุญเพื่อค้นหาสัจจะธรรมและความหลุดพ้นเพื่อเข้าสู่พระเป็นเจ้าตามหนทางของลัทธินิกายที่ตนเองนับถืออยู่ สำหรับตระกูลพราหมณ์เท่าที่มีการสืบค้นและมีหลักฐานแน่นอนว่ามีความเกี่ยวข้องกับราชสำนักไทยมาตั้งแต่ครั้นโบราณกาลก็มีพราหมณ์อยู่หลายตระกูล แต่สำหรับตระกูลของพราหมณ์หลวงที่ได้สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษของตนเองมีอยู่ 7 ตระกูล ได้แก่ตระกูล โกมลเวทิน สยมภพ นาคะเวทิน รัตนพราหมณ์ ภวังคนันท์ วุฒิพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล ถามว่าแล้วจะมีตระกูลอื่นนอกเหนือจากนี้เป็นพราหมณ์ด้วยหรือไม่ คำตอบสำหรับผู้เขียนก็คือ มีครับ เพียงแต่มีการเปิดเผยในวงกว้างหรือไม่เท่านั้น เพราะหลายตระกูลก็ไม่ได้ทำหน้าที่พราหมณ์ประกอบพิธีอีกแล้วก็มีอยู่หลายตระกูล พราหมณ์ (เทวนาครี : ब्राह्मण) คำๆนี้กลับมาเป็นจุดสนใจของสังคมไทยโดยกว้างอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เกิดเหตุการณ์กรณีที่เจ้าพิธีของกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง (น.ป.ช.)ได้ประกอบพิธีนำเลือดของผู้ชุมนุมมาเทราดในสถานที่ต่างๆโดยนัยยะเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการสาปแช่งต่อฝ่ายตรงกันข้าม จนเป็นที่กล่าวขานและพูดคุยกันในวงกว้างถึงความเหมาะสมของพิธีกรรมดังกล่าว ทำให้ประชาชนโดยทั่วไปตั้งคำถามถึงการกระทำดังกล่าวว่ามันคืออะไร และนำไปสู่คำถามกับตัวผู้เขียนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมันคืออะไร หลายๆคนไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงได้มีคนคิดอุดตริเอาเลือดของคนจำนวนมากไปเทพื้นได้ สำหรับคติจารีตของครอบครัวผู้เขียนเท่าที่ได้ศึกษามาไม่มีปรากฏพิธีดังกล่าวและมีการเชิญพระพุทธรูปมาเป็นประธานในการทำพิธีเทเลือดด้วยยิ่งไม่ใช่ใหญ่ และที่สำคัญก็คือ ตามจารีตวิถีพราหมณ์แล้ว เลือดคือสิ่งที่มีคุณค่า เพราะเลือดคือเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต คนเราขาดเลือดก็ต้องดับชีวิต ดังนั้นเลือดแม้เพียงหนึ่งหยดก็มีคุณค่า จึงเป็นที่น่าแปลกใจกับผู้เขียนอยู่พอสมควรว่าเหตุใด บุคคลท่านนั้นจึงได้คิดอุดตริกระทำพิธีเช่นนั้น ซึ่งนำมายังความสับสนในพิธีกรรมแปลกๆ และทำให้หลายคนเริ่มสงสัยและเริ่มค้นหาว่า ตกลงนี่คือวิถีทางของพราหมณ์ พิธีพราหมณ์หรืออย่างไร หรือว่ามันคือไสยศาสตร์ ตามประวัติศาสตร์แล้วพราหมณ์และศาสนาพราหมณ์นั้นเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยมานับตั้งแต่ยุคสมัยอาณาจักรขอมยังเรืองอำนาจ จะเห็นได้ว่าเทวาลัย ปราสาทหินต่างๆที่ยังคงหลงเหลืออยู่นั้นต่างก็ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งพิธีกรรมและคตินิยมตามจารีตประเพณีของพราหมณ์ก็ได้ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้และแทรกซึมผสมผสานรวมเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวไทย พราหมณ์ในชมพูทวีปคือวรรณะหนึ่ง หรือเรียกง่ายๆก็คือชนชั้นหนึ่งที่ได้มีการสืบเชื้อสายตกทอดมาซึ่งเป็นแนวคิดในวิถีชีวิตเฉพาะของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในสังคมของผู้นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในดินแดนชมพูทวีปนั้น พราหมณ์ถือเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมฮินดูที่ถือว่าเป็นวรรณะที่มีอิทธิพลสูงสุดวรรณะหนึ่งเพราะเป็นผู้รู้ เป็นปราชญ์ เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ พระเวท พิธีกรรมต่างๆ จารีต ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม ต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป บางองค์ความรู้ก็ดำรงคงไว้ให้ผู้สืบเชื้อสายในตระกูลได้สืบทอด พราหมณ์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูถ้าเปรียบเปรยแล้วก็มีสถานะเทียบได้กับพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ เพียงแต่จริยวัตรของพราหมณ์นั้นจะแตกต่างจากพระสงฆ์ในหลายๆเรื่องเช่น พราหมณ์โดยปกติจะถือศีล นุ่งผ้าตามแบบลักษณะของนิกายตนเอง ไว้มวยผมบ้าง ปอยผมบ้าง หรือบางนิกายก็ตัดผมสั้น และทานมังสะวิรัต งดเว้นเนื้อสัตว์ แต่สำหรับพราหมณ์ไทยทานเนื้อสัตว์ได้แต่งดเว้นเนื้อสัตว์บางประเภทเท่านั้น เช่น เนื้อวัว เนื้อปลาไหล เนื้อนก เป็นต้น พราหมณ์ต้องถือศีลตามข้อวัตรปฏิบัติของนิกายที่ตนเองนับถืออยู่ พราหมณ์สามารถมีครอบครัวเพื่อสืบสกุล โดยจะพำนักอยู่บ้านพักอาศัยของตนเอง หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธินิกายแห่งตน สำหรับพราหมณ์หลวงจะเข้าไปพำนักรอบๆเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ดังจะเห็นได้จากจะมีชุมชนพราหมณ์อยู่ในบริเวณนั้น สำหรับพราหมณ์ในสังคมไทย ผู้เขียนขอแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆกล่าวคือ พราหมณ์ที่เกิดในคติของพราหมณ์ไทย กับพราหมณ์ที่เกิดขึ้นในคติของพราหมณ์ฮินดู ถามว่าเพราะเหตุใด ผู้เขียนถึงแยกพราหมณ์ออกเป็นสองกลุ่มในลักษณะนี้เสียก่อน ก็ด้วยเหตุที่ว่า พราหมณ์ตามคติของไทยเรานั้น มีจริยวัตรแตกต่างและพิธีกรรม จารีต ประเพณีก็แปลกแตกต่างจากพราหมณ์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูของชาวชมพูทวีปอยู่มากจนทำให้พิธีกรรมและอัตลักษณ์ของพราหมณ์ไทยนั้นแยกตัวออกมาและแตกต่างไม่เหมือนกันกับพราหมณ์ของประเทศในแถบชมพูทวีป เช่นประเทศอินเดีย ทั้งๆที่พราหมณ์ไทยมีต้นเค้าหรือรากเหง้ามาจากพราหมณ์อินเดียทางตอนใต้ของประเทศอินเดียในส่วนที่เรียกว่า ทมิฬนาฑู ในปัจจุบัน ซึ่งก็คงมีลักษณะที่คล้ายๆกันกับพราหมณ์ของชาวเกาะบาหลี ที่ประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในรูปแบบของชาวบาหลีเอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแบ่งแบบนี้เพื่อให้ทำความเข้าใจกันก่อน ส่วนความเป็นพราหมณ์ไทยที่เกิดด้วยวิธีการแบบไทยนั้นผู้เขียนขอแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ตามความเข้าใจของผู้เขียนเองคือ เอาแบบที่อธิบายให้เข้าใจได้ง่ายก็คือ พราหมณ์หลวง และ พราหมณ์ราษฎร์ สำหรับผู้เขียนนั้นพราหมณ์หลวงคือผู้ที่ได้รับการบวชพราหมณ์จากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบของพราหมณ์หลวง โดยผู้ขอรับการบวชจะนำของมาถวายต่อพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์ที่เรียกว่า สายยัชโญปวีตเพื่อเป็นการแสดงว่าตนได้เกิดใหม่หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ในแบบพิธีไทยไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระในพระพุทธศาสนา กล่าวโดยรวมคือพราหมณ์ในแบบไทยเรานั้นจะถือศีลขั้นพื้นฐานแบบเดียวกับศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ โดยสามารถแต่งกายสุภาพทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้ นี่เป็นเพียงขั้นตอนการบวชพราหมณ์แบบคร่าวๆของพราหมณ์ไทย แต่สำหรับการเป็นนักบวชในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูของชาวอินเดียนั้นมีกฏเกณฑ์วัตรปฏิบัติที่มากกว่าเช่น ทานมังสะวิรัตตลอดชีวิต ถือศีลอดในเทศกาลบูชาที่สำคัญ ท่องจำพระเวทเพื่อประกอบพิธีบูชาและออกจาริกแสวงบุญในเวลาอันสมควร ซึ่งจะมีความแตกต่างจากพราหมณ์ในรูปแบบของไทย ซึ่งก็มีคนไทยที่ปฏิบัติตนเองและได้รับการบวชมาแล้วเช่นกันแต่มีจำนวนน้อยมาก พราหมณ์กับการไว้ทรงผม สำหรับพราหมณ์ไทยมีคติเกี่ยวกับเส้นผมคือห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าศีรษะและเส้นผมเป็นที่อยู่ของเทวดา สำหรับพราหมณ์อินเดียหรือเนปาลจะไว้ผมบ้างหรือตัดผมบ้างแล้วแต่นิกายครับ ในปัจจุบันพราหมณ์หลวงนั้นมีบทบาทและหน้าที่ถวายงานรับใช้พระราชวงศ์ทำหน้าที่เกี่ยวกับ พระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเป็นสักขีพยานในการพระราชพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ และบ้านเมือง ยกตัวอย่างเช่น พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีพืชมงคล พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย เป็นต้น และงานตามวาระโอกาสสำคัญ อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นต้น |
เทศกาลคเณศจตุรถี ประจำปี2553
เทศกาลคเณศจตุรถี ประจำปี2553
นวราตรี 2553
เทศกาลนวราตรี 2553
เทศกาล นวราตรี: พิธีบูชาพระทุรคา 9 ปาง 9 วัน
โดย ชาคริต
Copyright © 2010 all rights reserved by Trisuli shop
สำหรับเทศกาลบูชาพระทุรคาตลอดทั้ง 9 วัน 9 คืนนั้นมีเฉลิมฉลองในทุกประเทศที่มีชาวฮินดูหรือมีผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูอาศัยอยู่ และเนื่องด้วยผมค่อนข้างสนิทชิดเชื้อกับชาวเนปาลีและรู้จักมักคุ้นกับครอบครัวชาวเนปาลีหลายครอบครัวหลายท่านและได้มีโอกาสเรียนรู้อะไรหลายๆอย่างจากประสบการณ์ในการเดินทางท่องเที่ยวแสวงบุญและศึกษาสิ่งต่างๆรอบตัว เหล่านี้ทำให้ผมเห็นถึงพลังศรัทธาของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนอินเดียและคนเนปาล ผู้บูชาต่างก็มีวิถีทางแห่งพลังศรัทธาของตนเอง วันนี้ผมเลยขอพูดถึงประเทศเล็กๆบนยอดเขาหิมาลัย สถานที่ประทับของมหาเทพโบไรนาถ(พระศิวะ)ผู้เป็นใหญ่ ประเทศเนปาลมีพื้นที่เล็กกว่าประเทศไทย 3 เท่าของประเทศโดยไทยเราแบ่งการปกครองออกเป็น 76 จังหวัด แต่ประเทศเนปาลแบ่งเขตการปกครองออกเป็นโซนๆ มีทั้งหมด 14 โซน ประชากรทั้งประเทศเท่ากับพลเมืองภาคอีสานของไทย คือ 22 ล้านคนโดยประมาณครับ ประชากรชาวเนปาลโดยส่วนใหญ่ใช้ภาษาเนปาลี ในความรู้สึกของคนทั่วๆไปหรือของคนไทยก็คือ เนปาลเป็นประเทศของพระพุทธศาสนา อาจจะเป็นเพราะพระพุทธเจ้าประสูติในเขตพื้นที่ประเทศเนปาล(ลุมพินี) ซึ่งเรารับรู้กันมาตั้งแต่เด็กๆในวิชาพระพุทธศาสนา แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลยนะครับ คนเนปาลนั้นมีจำนวนถึง 86.2% นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยมีผู้นับถือศาสนาพุทธหรือเป็นชาวพุทธอยู่เพียง 7.8% และก็เป็นพุทธแบบมหายานทิเบตในนิกายต่างๆ ไม่ได้นับถือในนิกายเถรวาทแบบประเทศไทย และมีชาวมุสลิม เพียงแค่ 3.8% เท่านั้น ประเทศอินเดียที่ถือกันว่าเป็นประเทศที่ใหญ่โตมากและมีจำนวนผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูเยอะมากๆแต่เมื่อเทียบอัตราส่วนแล้วประเทศอินเดียกลับมีชาวฮินดูเพียง 80% มุสลิม 14% ตรงจุดนี้เองที่อาจจะสามารถพูดได้ว่า ประเทศเนปาลเป็นรัฐที่นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูเพียงรัฐเดียวที่ยังเหลืออยู่และมีสัดส่วนของชาวฮินดูสูงที่สุดในโลกก็ว่าได้เมื่อเทียบสัดส่วนกัน
สิ่งที่น่าสนใจของประเทศเนปาลอีกเรื่องก็คือตรงที่มีพรมแดนติดกับทั้งประเทศจีนและประเทศอินเดีย ซึ่งมีพลเมืองเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก ทางใต้ที่ติดกับรัฐพิหารของอินเดียไม่มีแนวธรรมชาติเป็นพรมแดนกั้น ไม่มีทั้งภูเขาหรือแม่น้ำ แต่ทางเหนือที่ติดกับจีน มีเทือกเขาหิมาลัยขวางอยู่เป็นที่น่าสังเกตว่า การหลั่งไหลของวัฒนธรรมมุสลิมกับเชื้อชาติกลับไม่มีผลกระทบอย่างรุนแรงกับประเทศเล็กๆประเทศนี้ การล่าอาณานิคมในยุคล่าอาณานิคมก็กลับมองข้ามประเทศเนปาลไปเช่นเดียวกัน อาจจะเป็นด้วยเหตุเพราะภูมิประเทศของประเทศเนปาลที่เดินทางลำบากและเข้าถึงยาก จึงไม่เป็นที่น่าสนใจของชาวตะวันตกมากนัก ในช่วงการล่าอาณานิคม
หากใครได้มีโอกาสไปเที่ยวประเทศเนปาล อยากให้ลองสังเกตหน้าตาผิวพรรณของผู้คนชาวเนปาลีดูครับ ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเนวาร์แต่บางทีก็เป็นการยากสำหรับคนทั่วไปที่จะดูว่าคนไทนเป็นชาวเนปาล คนไทนเป็นชาวทิเบตเหมือน เวลาฝรั่งที่มักแยกคนไทย คนลาว คนฟิลิปปินส์ ไม่ค่อยออก แต่ชนเผ่าที่มีอยู่มากก็เป็นพวกเผ่าลิมพุส เผ่าไร เผ่ามาคาร์ เผ่าคุรุง ฯลฯ และที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากก็คือชาวทิเบตที่อพยพลงมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่บริเวณเขตเนปาลและทางตอนเหนือของอินเดีย จนบางครั้ง คนไทยเราเองยังเข้าใจผิดคิดว่าคนทิเบตคือคนเนปาล เคยมีคำกล่าวในยุคสมัยล่าอาณานิคมอยู่ครั้งหนึ่งว่า ชนเผ่าชาวเนปาลที่ทหารอังกฤษเคยกลัวมากเป็นพวกเผ่าคุรุง เรียกอีกชื่อหนึ่งก็คือ กุรข่า เพราะเมื่อเกือบ 200 ปีก่อน ในยุคการล่าอาณานิคมนั้นได้เกิดสงครามระหว่างประเทศอังกฤษกับประเทศเนปาล ชาวกุรข่าเป็นคนเอเชียเชื้อชาติเดียว ที่มีความสามารถรบชนะกองทัพอังกฤซึ่งถือว่าอังกฤษเป็นอภิมหาอำนาจในสมัยนั้นได้และถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพล มากที่สุด ในประเทศเนปาลตั้งแต่ครั้งนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้
มาพูดถึงเรื่องศาสนาพราหมณ์ฮินดูในประเทศเนปาลกันดีกว่าครับเพื่อต้อนรับเทศกาล นวราตรี นิกายหลักๆ ในประเทศเนปาล มี 2 นิกายคือไศวะนิกายกับ ศักตินิกายบูชาเทวีเป็นใหญ่ แต่โดยส่วนใหญ่ของชาวเนปาลแล้วนับถือไศวะนิกายเป็นหลัก ก็ด้วยเหตุที่เป็นประเทศเดียวที่อยู่ใกล้กับภูเขาหิมาลัยอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะนั่นเอง สำหรับเทศกาลนวราตรี คือเทศกาลบูชาพระดุรกาทั้ง 9 ปาง หรือในภาษาไทยก็คือ พิธีบูชาพระทุรคา ทั้ง 9 ปาง โดยมีเทศกาลสำคัญคือเทศกาล ดาร์เชน (นวราตรี) หรือ ดุรกามหาบูชา ซึ่งจะดำเนินติดต่อกัน 10-15 วันถือเป็นช่วงวันหยุดยาว ผู้คนจะหยุดกิจกรรมในชีวิตประจำวันไว้อาทิตย์กว่าโดยประมาณเพื่อร่วมงานสำคัญนี้ถือเป็นพิธีเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งเลยทีเดียวครับ เทศกาล นวราตรี หรือ เทศกาลดูเซร่า ตามแบบภาษาทมิฬคือเทศกาลเฉลิมฉลองการประกาศชัยชนะเหนืออสูรมหิงสา ซึ่งคนไทยหลายๆคนที่นับถือบูชาในพระองค์หลายๆคนคงได้ไปร่วมบูชาและชมบารมีของพระองค์ที่วัดแขกสีลม ในงานประจำปีทุกๆปี
ในวันวิชัยทัศมีตามคติพราหมณ์ฮินดูแล้วจะถือกันว่าเป็นวันที่มหาเทวีทรงเสด็จลงมาบนโลกมนุษย์เพื่อโปรดสานุศิษย์ของพระองค์ดังนั้น ทุกบ้าน จะ เก็บกวาด ทำความสะอาด และตั้งโต๊ะบูชาพระทุรคากันอย่างสวยงามเพื่อรอรับพรจากพระองค์ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อทรงเสด็จมาแล้วจะประทานพรความร่ำรวยมั่งคั่งอำนาจบารมีให้เสมอ ในเทศกาลบูชาทั้ง 9 วันนี้ บูชาพระทุรคาปางใดบ้าง ซึ่งโดยคติแล้วทางการบูชาพระทุรคาใน 9 วันนี้จะแตกต่างกันไปตามคติของแต่ละภูมิภาคและลัทธินิกาย สำหรับผู้นับถือตามคติของชาวทมิฬวัดแขกสีลมหรือกลุ่มผู้บูชาทางใต้ก็จะบูชาพระทุรคาทั้ง9 ปาง 9 วัน ตามคติของลัทธินิกายซึ่งแต่ละปีก็จะมีการอัญเชิญพระทุรคาในปางต่างๆลงมาเพื่อประกอบพิธีบูชาโดยอาจจะมีการปรับเปลี่ยนไปบ้างตามการคำนวณในปฏิทินของพราหมณ์แต่โดยหลักๆแล้ว จะยืนพื้นดังนี้คือ
1. ปางไศลบุตรี (shailputri) ปางพระปารวตีผู้เป็นธิดาของพระหิมวัต ผู้เป็นใหญ่ปกครองภูเขาหิมาลัย
2. ปางพรหมจาริณี (bramcharini) ปางนี้เป็นปางที่พระอุมาออกบำเพ็ญตบะเพื่อบูชาพระศิวะ กระทั่งเป็นที่พอพระทัยแห่งองค์พระศิวะจึงได้วิวาห์กับพระอุมา
3. ปางจันทราฆัณฐ์ (chandraghanta) ปางของพระทุรคาที่ทรงปราบอสูร ฆัณฑาและนำสันติสุขกลับคืนมาสู่โลก
4. ปางกูษมัณฑา (kushmanda) ปางที่มีรัศมีเปล่งปลั่งในสถานะผู้สร้างสรรค์จักรวาล
5. ปางสกันธ์มาตา (skandmata) ปางอุ้มพระสกันธ (ขันธกุมาร) ไว้บนตักแสดงถึงความรักของมารดาที่มีต่อบุตร
6. ปางกาตยะยานี (kaatyayani) ปางแห่งการทำลายมารร้ายในจิตใจและประทานสุขภาพที่แข็งแรงแก่สาวก ปางนี้พระแม่มี 4 กร
7. ปางกาลราตรี (kaalratri) ปางที่มีผิวดำหมายถึงการทำลายซึ่งอวิชชา ความโง่เขลาผู้อยู่เหนือการเวลา
8. ปางมหาเคารี (mahagauri) ปางประทานพรให้สาวกประสบแต่ความสุขสวัสดิ์มงคล
9. ปางสิทธิธาตรี (siddhidatri) ปางประทานโอกาสให้เหล่าเทพ ฤาษี สิทธา เทวดา คนธรรพ์ อสูร ยักษ์ และสาวกเข้าเฝ้า เพื่อให้บรรลุธรรมและให้ได้รับความสำเร็จทุกประการ
(ภาพ: พิธีบูชายัญในเทศกาลนวราตรีของชาว ทาร์ปา ในเนปาล)
แต่สำหรับปีนี้ยังไม่แน่ใจเรื่องปางของพระทุรคาที่จะเชิญลงมาครับ รอประกาศจากทางวัดที่โน่นก่อน แล้วผมจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งนะครับ แต่สำหรับในทางตอนใต้ของอินเดียในบางภูมิภาคจะแบ่งการบูชาออกเป็นช่วงละ 3 วันโดยใน 3 วันแรกจะประกอบพิธีบูชาพระทุรคาในภาคของพระมหากาลี และในช่วงที่สองจะประกอบพิธีบูชาพระศรีมหาลักษมี และช่วง3 วันสุดท้ายประกอบพิธีบูชาพระศรีมหาสุรัสวตีและในวันสุดท้ายก็จะมีการเผาหุ่นยักษ์เพื่อแสดงถึงชัยชนะของพระทุรคาต่อเหล่าอสูร ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในแต่ละภูมิภาคของอินเดียมีพิธีการบูชาที่แตกต่างกันออกไป
(ภาพ: สตรีชาวเนวารีกำลังประกอบพิธีบูชาสัตว์เทวะก่อนเข้าไปภายในมหาวิหารช่วงเทศกาลนวราตรี)
สำหรับขั้นตอนพิธีบูชาในแบบชาวเนปาลีนอกเหนือไปจากการบูชาพระทุรคาในปางต่างๆแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้คือในพิธีบูชาวันแรกจะมีพิธีสถาปนากลัศบูชา หรือพิธีประกอบหม้อน้ำบูชาเป็นพิเศษโดยเครื่องบูชาดังกล่าวคนไทยมักเข้าใจผิดและเรียกกันผิดๆว่า บายศรีแขก แต่ในความเป็นจริงแล้วคติต่างๆของคำว่าบายศรีกับคำว่ากลัศบูชานั้น แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่อการบูชานี้จะต้องประกอบไปด้วยน้ำที่นำมาจากแม่น้ำสายสำคัญต่างๆที่ตักมาจากท่าน้ำตามวรรณะของตนเองและต้องผ่านการประกอบพิธีบูชามาแล้วจึงจะนำน้ำดังกล่าวมาประกอบพิธีและบรรจุน้ำไว้ในหม้อเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลัศบูชาได้เมื่อได้น้ำมาแล้วผู้ประกอบกลัศจะวางลูกมะพร้าวไว้ด้านบนมีใบมะม่วงวางอยู่รายรอบปากภาชนะแต่ก่อนที่จะวางใบมะม่วงลงไปผู้ประกอบพิธีจะใส่สิ่งของและสมุนไพรต่างๆลงไปด้วยเช่น หมาก ใบพลู เป็นต้น พิธีการสถาปนากลัศบูชาจะต้องมีการกำกับพระเวทไว้ด้วยทุกขั้นตอนจึงจะถือว่าเป็นกลัศบูชาที่สมบูรณ์ไม่เช่นนั้นแล้วก็เป็นเพียงของประดับตกแต่งสถานที่เท่านั้นไม่ใช่กลัศบูชาที่ถูกต้องตามหลักศาสนพิธีและจารีตประเพณีของศาสนา เมื่อประกอบกลัศและสาธยายพระเวทกำกับเรียบร้อยแล้วก็ตั้งกลัศไว้หน้าเทวรูป หรือ รูปภาพของพระทุรคาและมีการวางกระบะทรายเอาไว้ข้างๆหรือโดยรอบกลัศบูชานั้นซึ่งจะต้องเป็นทรายที่กรองจนสะอาดและเหลือเฉพาะ ทรายแล้วเท่านั้น ไม่มี เศษกรวด หรือสิ่งเจือปนอื่นๆ ชาวเนปาลีจะทำการโรยเมล็ดข้าวบนทรายเหล่านั้นเพื่อเริ่มพิธีบูชาในวันแรก โดยปกติแล้วในพิธีบูชาดังกล่าวชาวเนปาลีจะเชิญพราหมณ์มาประกอบพิธีให้ หรือ ให้หัวหน้าครอบครัวที่เป็นผู้ชายที่รู้ในพระเวทประกอบพิธีสวดอัญเชิญและสถาปนากลัศและในระหว่างนั้น โดยปกติ จะไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาในห้องบูชาเด็ดขาดแต่ก็ไม่มีกฎตายตัว บางบ้านก็ไม่ห้าม แต่บ้านผมห้ามครับ 555+ โดยเฉพาะสตรีที่มีประจำเดือนห้ามโดยเด็ดขาดหรือแม้แต่ใครก็ตามที่มีเลือดออกจากร่างกายเช่น โดนมีดบาดเป็นต้น บ้านผมก็ห้ามเข้ามาในพิธีบูชาเด็ดขาดเช่นกัน โดยผู้ประกอบพิธีบูชาจะต้องทำการบูชาตามระเบียบแบบแผนการบูชาทั้ง 16 ขั้นตอนทั้งในตอนเช้า และตอนเย็นของทุกวัน ตลอดเทศกาลเมื่อเสร็จพิธีการบูชาในแต่ละครั้งแล้วจะนำน้ำที่ได้จากการบูชามาประพรมทั่วทั้งบ้าน และประพรหมไปที่กระบะทรายซึ่ง โดยประมาณ แล้ว ต้นกล้าของข้าวก็จะโต ยาว ประมาณ 3-4 นิ้วพอดีเมื่อเสร็จสิ้นเทศกาลต้นกล้านี้ เรียกว่า จามาร่า ครับ โดยในวันที่เจ็ดของเทศกาลที่เนปาลจะมีการจัดขบวนแห่ไปประกอบพิธีตรงสนามกลางเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงกาฎมัณฑุโดยจะมีขบวนกองทหารและกิจกรรมงานฉลองอย่างยิ่งใหญ่โดย พระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จเข้าร่วมพิธีครั้งนี้ด้วยและนำกลัศบูชาของหลวงมาเข้าพิธีและนำเข้าไปในวิหารพระหนุมาน เพื่อทำพิธีบูชาภายในและสิ้นสุดพิธีกรรมในวันนั้นด้วยการบูชายัญ
วันที่ 8 ของเทศกาล คือ วัน มหาอัชตามี คือวันที่มีการสังเวยชีวิตสัตว์ คือ แพะ ไก่ ควายเพื่อบวงสรวงสังเวยต่อ พระทุรคาโดยตลอดทั้งวันและกลางคืนจะมีการสังเวยสัตว์เหล่านี้เป็นพันๆตัวในคืนนี้เรียกว่า กาลราตรี ก็จะมีการสังเวยบูชายัญกันอีกครั้งหนึ่งไปตลอดจนไปสิ้นสุดจริงๆคือตอนเช้าของวันใหม่ วันนี้ทั้งวันจะมีแต่กลิ่นคาวเลือดผสมกลิ่นกำยาน
(ภาพ: ร้านค้าขายสินค้าต่างๆในช่วงเทศกาลนวราตรี)
ในวันที่ 9 ที่มหาวิหารมหาเทพ เตรูจา วันนี้ ประตูมหาวิหารจะถูกเปิดให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าไปได้ปีละครั้งเท่านั้น โดยจะอนุญาตให้เข้าถึงบริเวณสนามหน้ามหาวิหารใหญ่เท่านั้นและบริเวณนี้เองที่จะมีพิธีการบูชายัญอีกครั้งซึ่งเลือดที่เกิดจากการบูชายัญจะกระจายเต็มพื้นที่สนามจนแดงกร่ำเหมือนสีของผลทับทิมและในวันนี้ อุปกรณ์ หรือ เครื่องมือเครื่องใช้ทำมาหากิน รวมทั้งรถยนต์ หรือ พาหนะต่างๆจะได้รับการบูชาสังเวยบูชายัญ ด้วยเช่นกัน
(ภาพ: การแสดงในช่วงเทศกาลนวราตรีเพื่อเฉลิมฉลองและบูชาพระทุรคา)
ในวันที่ 10 ของเทศกาลนี้กษัตริย์แห่งเนปาลจะรับการ ติการ์หรือการเจิมผงเจิมสีแดงที่บริเวณหน้าผากในแบบเนปาลีที่ไม่เหมือนใครจากพราหมณ์ใหญ่ของวัดปสูปฏินาถและต้องได้รับการเจิมจากองค์กุมารีแห่งเมืองปาร์ตันหลังจากนั้นพระองค์จะทรงเจิมหน้าผากให้กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และ ประชาชนทั่วไปรวมไปถึงนักท่องเที่ยวต่างๆที่จะเข้ารอรับการเจิมจากพระองค์ ส่วนชาวบ้านก็ จะเวียนกันไปหาบ้านผู้ใหญ่ที่ตนเองเคารพนับถือเพื่อรับการเจิมหน้าผากจากผู้ใหญ่ที่ตนเองเคารพโดยถือเป็นการได้รับพรจากพระทุรคาครับ เทศกาลที่ผมกล่าวมานี้ เป็นเทศกาล นวราตรี ในแบบชาวเนปาลี สำหรับรูปพิธีบูชาที่บ้านผมจะเอารูปมาให้ชมในเร็ววันครับและหลังจากงานพิธีนวราตรีจบลง พิธีบูชาใหญ่ที่ต่อท้ายมาใกล้ๆก็คือเทศกาล ดีปาวาลี หรือ ติฮาร์ ซึ่งก็คือเทศกาล บูชาพระศรีมหาลักษมี มหาเทวีแห่งความมั่งคั่งร่ำรวยหรือเทศกาลแห่งแสง นั่นเองครับ
Copyright © 2010 all rights reserved by Trisuli shop
เทศกาล นวราตรี: พิธีบูชาพระทุรคา 9 ปาง 9 วัน
โดย ชาคริต
Copyright © 2010 all rights reserved by Trisuli shop
สำหรับเทศกาลบูชาพระทุรคาตลอดทั้ง 9 วัน 9 คืนนั้นมีเฉลิมฉลองในทุกประเทศที่มีชาวฮินดูหรือมีผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูอาศัยอยู่ และเนื่องด้วยผมค่อนข้างสนิทชิดเชื้อกับชาวเนปาลีและรู้จักมักคุ้นกับครอบครัวชาวเนปาลีหลายครอบครัวหลายท่านและได้มีโอกาสเรียนรู้อะไรหลายๆอย่างจากประสบการณ์ในการเดินทางท่องเที่ยวแสวงบุญและศึกษาสิ่งต่างๆรอบตัว เหล่านี้ทำให้ผมเห็นถึงพลังศรัทธาของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนอินเดียและคนเนปาล ผู้บูชาต่างก็มีวิถีทางแห่งพลังศรัทธาของตนเอง วันนี้ผมเลยขอพูดถึงประเทศเล็กๆบนยอดเขาหิมาลัย สถานที่ประทับของมหาเทพโบไรนาถ(พระศิวะ)ผู้เป็นใหญ่ ประเทศเนปาลมีพื้นที่เล็กกว่าประเทศไทย 3 เท่าของประเทศโดยไทยเราแบ่งการปกครองออกเป็น 76 จังหวัด แต่ประเทศเนปาลแบ่งเขตการปกครองออกเป็นโซนๆ มีทั้งหมด 14 โซน ประชากรทั้งประเทศเท่ากับพลเมืองภาคอีสานของไทย คือ 22 ล้านคนโดยประมาณครับ ประชากรชาวเนปาลโดยส่วนใหญ่ใช้ภาษาเนปาลี ในความรู้สึกของคนทั่วๆไปหรือของคนไทยก็คือ เนปาลเป็นประเทศของพระพุทธศาสนา อาจจะเป็นเพราะพระพุทธเจ้าประสูติในเขตพื้นที่ประเทศเนปาล(ลุมพินี) ซึ่งเรารับรู้กันมาตั้งแต่เด็กๆในวิชาพระพุทธศาสนา แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลยนะครับ คนเนปาลนั้นมีจำนวนถึง 86.2% นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยมีผู้นับถือศาสนาพุทธหรือเป็นชาวพุทธอยู่เพียง 7.8% และก็เป็นพุทธแบบมหายานทิเบตในนิกายต่างๆ ไม่ได้นับถือในนิกายเถรวาทแบบประเทศไทย และมีชาวมุสลิม เพียงแค่ 3.8% เท่านั้น ประเทศอินเดียที่ถือกันว่าเป็นประเทศที่ใหญ่โตมากและมีจำนวนผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูเยอะมากๆแต่เมื่อเทียบอัตราส่วนแล้วประเทศอินเดียกลับมีชาวฮินดูเพียง 80% มุสลิม 14% ตรงจุดนี้เองที่อาจจะสามารถพูดได้ว่า ประเทศเนปาลเป็นรัฐที่นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูเพียงรัฐเดียวที่ยังเหลืออยู่และมีสัดส่วนของชาวฮินดูสูงที่สุดในโลกก็ว่าได้เมื่อเทียบสัดส่วนกัน
สิ่งที่น่าสนใจของประเทศเนปาลอีกเรื่องก็คือตรงที่มีพรมแดนติดกับทั้งประเทศจีนและประเทศอินเดีย ซึ่งมีพลเมืองเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโลก ทางใต้ที่ติดกับรัฐพิหารของอินเดียไม่มีแนวธรรมชาติเป็นพรมแดนกั้น ไม่มีทั้งภูเขาหรือแม่น้ำ แต่ทางเหนือที่ติดกับจีน มีเทือกเขาหิมาลัยขวางอยู่เป็นที่น่าสังเกตว่า การหลั่งไหลของวัฒนธรรมมุสลิมกับเชื้อชาติกลับไม่มีผลกระทบอย่างรุนแรงกับประเทศเล็กๆประเทศนี้ การล่าอาณานิคมในยุคล่าอาณานิคมก็กลับมองข้ามประเทศเนปาลไปเช่นเดียวกัน อาจจะเป็นด้วยเหตุเพราะภูมิประเทศของประเทศเนปาลที่เดินทางลำบากและเข้าถึงยาก จึงไม่เป็นที่น่าสนใจของชาวตะวันตกมากนัก ในช่วงการล่าอาณานิคม
หากใครได้มีโอกาสไปเที่ยวประเทศเนปาล อยากให้ลองสังเกตหน้าตาผิวพรรณของผู้คนชาวเนปาลีดูครับ ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเนวาร์แต่บางทีก็เป็นการยากสำหรับคนทั่วไปที่จะดูว่าคนไทนเป็นชาวเนปาล คนไทนเป็นชาวทิเบตเหมือน เวลาฝรั่งที่มักแยกคนไทย คนลาว คนฟิลิปปินส์ ไม่ค่อยออก แต่ชนเผ่าที่มีอยู่มากก็เป็นพวกเผ่าลิมพุส เผ่าไร เผ่ามาคาร์ เผ่าคุรุง ฯลฯ และที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากก็คือชาวทิเบตที่อพยพลงมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่บริเวณเขตเนปาลและทางตอนเหนือของอินเดีย จนบางครั้ง คนไทยเราเองยังเข้าใจผิดคิดว่าคนทิเบตคือคนเนปาล เคยมีคำกล่าวในยุคสมัยล่าอาณานิคมอยู่ครั้งหนึ่งว่า ชนเผ่าชาวเนปาลที่ทหารอังกฤษเคยกลัวมากเป็นพวกเผ่าคุรุง เรียกอีกชื่อหนึ่งก็คือ กุรข่า เพราะเมื่อเกือบ 200 ปีก่อน ในยุคการล่าอาณานิคมนั้นได้เกิดสงครามระหว่างประเทศอังกฤษกับประเทศเนปาล ชาวกุรข่าเป็นคนเอเชียเชื้อชาติเดียว ที่มีความสามารถรบชนะกองทัพอังกฤซึ่งถือว่าอังกฤษเป็นอภิมหาอำนาจในสมัยนั้นได้และถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพล มากที่สุด ในประเทศเนปาลตั้งแต่ครั้งนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้
มาพูดถึงเรื่องศาสนาพราหมณ์ฮินดูในประเทศเนปาลกันดีกว่าครับเพื่อต้อนรับเทศกาล นวราตรี นิกายหลักๆ ในประเทศเนปาล มี 2 นิกายคือไศวะนิกายกับ ศักตินิกายบูชาเทวีเป็นใหญ่ แต่โดยส่วนใหญ่ของชาวเนปาลแล้วนับถือไศวะนิกายเป็นหลัก ก็ด้วยเหตุที่เป็นประเทศเดียวที่อยู่ใกล้กับภูเขาหิมาลัยอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะนั่นเอง สำหรับเทศกาลนวราตรี คือเทศกาลบูชาพระดุรกาทั้ง 9 ปาง หรือในภาษาไทยก็คือ พิธีบูชาพระทุรคา ทั้ง 9 ปาง โดยมีเทศกาลสำคัญคือเทศกาล ดาร์เชน (นวราตรี) หรือ ดุรกามหาบูชา ซึ่งจะดำเนินติดต่อกัน 10-15 วันถือเป็นช่วงวันหยุดยาว ผู้คนจะหยุดกิจกรรมในชีวิตประจำวันไว้อาทิตย์กว่าโดยประมาณเพื่อร่วมงานสำคัญนี้ถือเป็นพิธีเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งเลยทีเดียวครับ เทศกาล นวราตรี หรือ เทศกาลดูเซร่า ตามแบบภาษาทมิฬคือเทศกาลเฉลิมฉลองการประกาศชัยชนะเหนืออสูรมหิงสา ซึ่งคนไทยหลายๆคนที่นับถือบูชาในพระองค์หลายๆคนคงได้ไปร่วมบูชาและชมบารมีของพระองค์ที่วัดแขกสีลม ในงานประจำปีทุกๆปี
ในวันวิชัยทัศมีตามคติพราหมณ์ฮินดูแล้วจะถือกันว่าเป็นวันที่มหาเทวีทรงเสด็จลงมาบนโลกมนุษย์เพื่อโปรดสานุศิษย์ของพระองค์ดังนั้น ทุกบ้าน จะ เก็บกวาด ทำความสะอาด และตั้งโต๊ะบูชาพระทุรคากันอย่างสวยงามเพื่อรอรับพรจากพระองค์ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อทรงเสด็จมาแล้วจะประทานพรความร่ำรวยมั่งคั่งอำนาจบารมีให้เสมอ ในเทศกาลบูชาทั้ง 9 วันนี้ บูชาพระทุรคาปางใดบ้าง ซึ่งโดยคติแล้วทางการบูชาพระทุรคาใน 9 วันนี้จะแตกต่างกันไปตามคติของแต่ละภูมิภาคและลัทธินิกาย สำหรับผู้นับถือตามคติของชาวทมิฬวัดแขกสีลมหรือกลุ่มผู้บูชาทางใต้ก็จะบูชาพระทุรคาทั้ง9 ปาง 9 วัน ตามคติของลัทธินิกายซึ่งแต่ละปีก็จะมีการอัญเชิญพระทุรคาในปางต่างๆลงมาเพื่อประกอบพิธีบูชาโดยอาจจะมีการปรับเปลี่ยนไปบ้างตามการคำนวณในปฏิทินของพราหมณ์แต่โดยหลักๆแล้ว จะยืนพื้นดังนี้คือ
1. ปางไศลบุตรี (shailputri) ปางพระปารวตีผู้เป็นธิดาของพระหิมวัต ผู้เป็นใหญ่ปกครองภูเขาหิมาลัย
2. ปางพรหมจาริณี (bramcharini) ปางนี้เป็นปางที่พระอุมาออกบำเพ็ญตบะเพื่อบูชาพระศิวะ กระทั่งเป็นที่พอพระทัยแห่งองค์พระศิวะจึงได้วิวาห์กับพระอุมา
3. ปางจันทราฆัณฐ์ (chandraghanta) ปางของพระทุรคาที่ทรงปราบอสูร ฆัณฑาและนำสันติสุขกลับคืนมาสู่โลก
4. ปางกูษมัณฑา (kushmanda) ปางที่มีรัศมีเปล่งปลั่งในสถานะผู้สร้างสรรค์จักรวาล
5. ปางสกันธ์มาตา (skandmata) ปางอุ้มพระสกันธ (ขันธกุมาร) ไว้บนตักแสดงถึงความรักของมารดาที่มีต่อบุตร
6. ปางกาตยะยานี (kaatyayani) ปางแห่งการทำลายมารร้ายในจิตใจและประทานสุขภาพที่แข็งแรงแก่สาวก ปางนี้พระแม่มี 4 กร
7. ปางกาลราตรี (kaalratri) ปางที่มีผิวดำหมายถึงการทำลายซึ่งอวิชชา ความโง่เขลาผู้อยู่เหนือการเวลา
8. ปางมหาเคารี (mahagauri) ปางประทานพรให้สาวกประสบแต่ความสุขสวัสดิ์มงคล
9. ปางสิทธิธาตรี (siddhidatri) ปางประทานโอกาสให้เหล่าเทพ ฤาษี สิทธา เทวดา คนธรรพ์ อสูร ยักษ์ และสาวกเข้าเฝ้า เพื่อให้บรรลุธรรมและให้ได้รับความสำเร็จทุกประการ
(ภาพ: พิธีบูชายัญในเทศกาลนวราตรีของชาว ทาร์ปา ในเนปาล)
แต่สำหรับปีนี้ยังไม่แน่ใจเรื่องปางของพระทุรคาที่จะเชิญลงมาครับ รอประกาศจากทางวัดที่โน่นก่อน แล้วผมจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งนะครับ แต่สำหรับในทางตอนใต้ของอินเดียในบางภูมิภาคจะแบ่งการบูชาออกเป็นช่วงละ 3 วันโดยใน 3 วันแรกจะประกอบพิธีบูชาพระทุรคาในภาคของพระมหากาลี และในช่วงที่สองจะประกอบพิธีบูชาพระศรีมหาลักษมี และช่วง3 วันสุดท้ายประกอบพิธีบูชาพระศรีมหาสุรัสวตีและในวันสุดท้ายก็จะมีการเผาหุ่นยักษ์เพื่อแสดงถึงชัยชนะของพระทุรคาต่อเหล่าอสูร ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในแต่ละภูมิภาคของอินเดียมีพิธีการบูชาที่แตกต่างกันออกไป
(ภาพ: สตรีชาวเนวารีกำลังประกอบพิธีบูชาสัตว์เทวะก่อนเข้าไปภายในมหาวิหารช่วงเทศกาลนวราตรี)
สำหรับขั้นตอนพิธีบูชาในแบบชาวเนปาลีนอกเหนือไปจากการบูชาพระทุรคาในปางต่างๆแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้คือในพิธีบูชาวันแรกจะมีพิธีสถาปนากลัศบูชา หรือพิธีประกอบหม้อน้ำบูชาเป็นพิเศษโดยเครื่องบูชาดังกล่าวคนไทยมักเข้าใจผิดและเรียกกันผิดๆว่า บายศรีแขก แต่ในความเป็นจริงแล้วคติต่างๆของคำว่าบายศรีกับคำว่ากลัศบูชานั้น แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่อการบูชานี้จะต้องประกอบไปด้วยน้ำที่นำมาจากแม่น้ำสายสำคัญต่างๆที่ตักมาจากท่าน้ำตามวรรณะของตนเองและต้องผ่านการประกอบพิธีบูชามาแล้วจึงจะนำน้ำดังกล่าวมาประกอบพิธีและบรรจุน้ำไว้ในหม้อเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลัศบูชาได้เมื่อได้น้ำมาแล้วผู้ประกอบกลัศจะวางลูกมะพร้าวไว้ด้านบนมีใบมะม่วงวางอยู่รายรอบปากภาชนะแต่ก่อนที่จะวางใบมะม่วงลงไปผู้ประกอบพิธีจะใส่สิ่งของและสมุนไพรต่างๆลงไปด้วยเช่น หมาก ใบพลู เป็นต้น พิธีการสถาปนากลัศบูชาจะต้องมีการกำกับพระเวทไว้ด้วยทุกขั้นตอนจึงจะถือว่าเป็นกลัศบูชาที่สมบูรณ์ไม่เช่นนั้นแล้วก็เป็นเพียงของประดับตกแต่งสถานที่เท่านั้นไม่ใช่กลัศบูชาที่ถูกต้องตามหลักศาสนพิธีและจารีตประเพณีของศาสนา เมื่อประกอบกลัศและสาธยายพระเวทกำกับเรียบร้อยแล้วก็ตั้งกลัศไว้หน้าเทวรูป หรือ รูปภาพของพระทุรคาและมีการวางกระบะทรายเอาไว้ข้างๆหรือโดยรอบกลัศบูชานั้นซึ่งจะต้องเป็นทรายที่กรองจนสะอาดและเหลือเฉพาะ ทรายแล้วเท่านั้น ไม่มี เศษกรวด หรือสิ่งเจือปนอื่นๆ ชาวเนปาลีจะทำการโรยเมล็ดข้าวบนทรายเหล่านั้นเพื่อเริ่มพิธีบูชาในวันแรก โดยปกติแล้วในพิธีบูชาดังกล่าวชาวเนปาลีจะเชิญพราหมณ์มาประกอบพิธีให้ หรือ ให้หัวหน้าครอบครัวที่เป็นผู้ชายที่รู้ในพระเวทประกอบพิธีสวดอัญเชิญและสถาปนากลัศและในระหว่างนั้น โดยปกติ จะไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาในห้องบูชาเด็ดขาดแต่ก็ไม่มีกฎตายตัว บางบ้านก็ไม่ห้าม แต่บ้านผมห้ามครับ 555+ โดยเฉพาะสตรีที่มีประจำเดือนห้ามโดยเด็ดขาดหรือแม้แต่ใครก็ตามที่มีเลือดออกจากร่างกายเช่น โดนมีดบาดเป็นต้น บ้านผมก็ห้ามเข้ามาในพิธีบูชาเด็ดขาดเช่นกัน โดยผู้ประกอบพิธีบูชาจะต้องทำการบูชาตามระเบียบแบบแผนการบูชาทั้ง 16 ขั้นตอนทั้งในตอนเช้า และตอนเย็นของทุกวัน ตลอดเทศกาลเมื่อเสร็จพิธีการบูชาในแต่ละครั้งแล้วจะนำน้ำที่ได้จากการบูชามาประพรมทั่วทั้งบ้าน และประพรหมไปที่กระบะทรายซึ่ง โดยประมาณ แล้ว ต้นกล้าของข้าวก็จะโต ยาว ประมาณ 3-4 นิ้วพอดีเมื่อเสร็จสิ้นเทศกาลต้นกล้านี้ เรียกว่า จามาร่า ครับ โดยในวันที่เจ็ดของเทศกาลที่เนปาลจะมีการจัดขบวนแห่ไปประกอบพิธีตรงสนามกลางเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงกาฎมัณฑุโดยจะมีขบวนกองทหารและกิจกรรมงานฉลองอย่างยิ่งใหญ่โดย พระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จเข้าร่วมพิธีครั้งนี้ด้วยและนำกลัศบูชาของหลวงมาเข้าพิธีและนำเข้าไปในวิหารพระหนุมาน เพื่อทำพิธีบูชาภายในและสิ้นสุดพิธีกรรมในวันนั้นด้วยการบูชายัญ
วันที่ 8 ของเทศกาล คือ วัน มหาอัชตามี คือวันที่มีการสังเวยชีวิตสัตว์ คือ แพะ ไก่ ควายเพื่อบวงสรวงสังเวยต่อ พระทุรคาโดยตลอดทั้งวันและกลางคืนจะมีการสังเวยสัตว์เหล่านี้เป็นพันๆตัวในคืนนี้เรียกว่า กาลราตรี ก็จะมีการสังเวยบูชายัญกันอีกครั้งหนึ่งไปตลอดจนไปสิ้นสุดจริงๆคือตอนเช้าของวันใหม่ วันนี้ทั้งวันจะมีแต่กลิ่นคาวเลือดผสมกลิ่นกำยาน
(ภาพ: ร้านค้าขายสินค้าต่างๆในช่วงเทศกาลนวราตรี)
ในวันที่ 9 ที่มหาวิหารมหาเทพ เตรูจา วันนี้ ประตูมหาวิหารจะถูกเปิดให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าไปได้ปีละครั้งเท่านั้น โดยจะอนุญาตให้เข้าถึงบริเวณสนามหน้ามหาวิหารใหญ่เท่านั้นและบริเวณนี้เองที่จะมีพิธีการบูชายัญอีกครั้งซึ่งเลือดที่เกิดจากการบูชายัญจะกระจายเต็มพื้นที่สนามจนแดงกร่ำเหมือนสีของผลทับทิมและในวันนี้ อุปกรณ์ หรือ เครื่องมือเครื่องใช้ทำมาหากิน รวมทั้งรถยนต์ หรือ พาหนะต่างๆจะได้รับการบูชาสังเวยบูชายัญ ด้วยเช่นกัน
(ภาพ: การแสดงในช่วงเทศกาลนวราตรีเพื่อเฉลิมฉลองและบูชาพระทุรคา)
ในวันที่ 10 ของเทศกาลนี้กษัตริย์แห่งเนปาลจะรับการ ติการ์หรือการเจิมผงเจิมสีแดงที่บริเวณหน้าผากในแบบเนปาลีที่ไม่เหมือนใครจากพราหมณ์ใหญ่ของวัดปสูปฏินาถและต้องได้รับการเจิมจากองค์กุมารีแห่งเมืองปาร์ตันหลังจากนั้นพระองค์จะทรงเจิมหน้าผากให้กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และ ประชาชนทั่วไปรวมไปถึงนักท่องเที่ยวต่างๆที่จะเข้ารอรับการเจิมจากพระองค์ ส่วนชาวบ้านก็ จะเวียนกันไปหาบ้านผู้ใหญ่ที่ตนเองเคารพนับถือเพื่อรับการเจิมหน้าผากจากผู้ใหญ่ที่ตนเองเคารพโดยถือเป็นการได้รับพรจากพระทุรคาครับ เทศกาลที่ผมกล่าวมานี้ เป็นเทศกาล นวราตรี ในแบบชาวเนปาลี สำหรับรูปพิธีบูชาที่บ้านผมจะเอารูปมาให้ชมในเร็ววันครับและหลังจากงานพิธีนวราตรีจบลง พิธีบูชาใหญ่ที่ต่อท้ายมาใกล้ๆก็คือเทศกาล ดีปาวาลี หรือ ติฮาร์ ซึ่งก็คือเทศกาล บูชาพระศรีมหาลักษมี มหาเทวีแห่งความมั่งคั่งร่ำรวยหรือเทศกาลแห่งแสง นั่นเองครับ
Copyright © 2010 all rights reserved by Trisuli shop
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)